เศรษฐกิจไทยยังพึ่งการขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ

ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินเดือนตุลาคมปี 2559  โดยสรุปคือเศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2559 ขยายตัวในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ กระนั้นภาคการท่องเที่ยวชะลอตัว ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวไทย ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนในหมวดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยวแผ่วลงด้วย

มูลค่าการส่งออกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาตัว แต่การส่งออกไปตลาดหลักและสินค้าบางกลุ่มยังอยู่ในทิศทางที่ปรับดีขึ้น สะท้อนจากการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ และภาคการก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่อง

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสดที่ปรับลดลงหลังจากปัญหาภัยแล้งคลี่คลาย อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ปรับลดลง ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง

ภาพรวมการใช้จ่ายและรายได้

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้ การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวดีต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยรายจ่ายประจำขยายตัวตามการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวจากโครงการก่อสร้างสถานศึกษาและโครงการคมนาคม

ด้านรายได้จัดเก็บของรัฐบาลขยายตัวสูงจากระยะเดียวกันปีก่อนจากรายได้ที่มิใช่ภาษีเป็นสำคัญ จากการรับรู้รายได้ส่วนเกินจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาล และผลของฐานที่ต่า รวมทั้งการเหลื่อมนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ขณะที่รายได้จากภาษีขยายตัวชะลอลงตามภาษีมูลค่าเพิ่มสอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงในเดือนนี้

ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวไทย เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวร้อยละ 10.1 จากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมายและการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการทำ visa on arrival นอกจากนี้ การเดินทางของนักท่องเที่ยวไทยที่ลดลงส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในหมวดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยว อาทิ โรงแรมและภัตตาคาร การขนส่งผู้โดยสาร และการใช้เชื้อเพลิงชะลอลงด้วย

สำหรับปัจจัยสนับสนุน การบริโภคโดยรวมยังไม่เข้มแข็งนัก สะท้อนจากรายได้ภาคเกษตรกรรมที่แม้ขยายตัวได้แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยปริมาณผลผลิตขยายตัวได้โดยเฉพาะข้าวโพด ผลไม้ และปศุสัตว์ ขณะที่ราคาหดตัวตามราคาข้าวหอมมะลิเป็นสำคัญ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมลดลง ส่วนรายได้และการจ้างงานนอก ภาคเกษตรกรรมทรงตัว

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งหากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 3.6 โดยเป็นการหดตัวในหลายหมวดสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปสงค์ที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ไปกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบขาดแคลนจากปัญหาภัยแล้งในช่วงก่อนหน้า

การส่งออกไปตลาดหลักและสินค้าบางกลุ่มยังอยู่ในทิศทางที่ปรับดีขึ้น สอดคล้องกับการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหมวดสินค้าแผงวงจรรวม (IC) และเครื่องใช้ไฟฟ้า

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 7.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งหากไม่รวม การนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6 ตามการขยายตัวในหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง โดยการนำเข้าเชื้อเพลิงขยายตัวตามปริมาณน้ำมันดิบสอดคล้องกับการผลิตปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่กลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557

การนำเข้าโลหะขยายตัวสอดคล้องกับการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว รวมถึงการนำเข้าแผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วน และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนแนวโน้มการส่งออกของสินค้าดังกล่าวที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวตามการนำเข้าหมวดอุปกรณ์โทรคมนาคม เนื่องจากผลของฐานสูงในระยะเดียวกันปีก่อนที่มีการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อเตรียมการลงทุน 4G การนำเข้าสินค้าทุนที่หดตัว ประกอบกับยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และการก่อสร้างโดยรวมที่หดตัวต่อเนื่อง สะท้อนภาวะการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมที่สัญญาณการฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน

อัตราเงินเฟ้อชะลอลง

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามราคาอาหารสดในหมวดผักและผลไม้ที่ปรับลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้งคลี่คลาย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวตามต้นทุนโดยรวมที่ทรงตัว และอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ปรับลดลงโดยเฉพาะแรงงานสวนยางพาราในภาคใต้เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องทั้งจากดุลการค้าเนื่องจากมูลค่า การนำเข้ายังอยู่ในระดับต่า และดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ตามรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงเกินดุล แม้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอตัว

สำหรับดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากการนำเงิน ไปฝากในต่างประเทศและชาระคืนเงินกู้ระยะสั้นของสถาบันรับฝากเงินเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และการขายสุทธิเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติซึ่งสอดคล้องกับ ทิศทางการลงทุนในภูมิภาค

#