ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

ข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของกระทรวงคมนาคม ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 (12 กันยายน 2558-30 กันยายน 2559)  โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (ณ เดือนตุลาคม 2559)  สรุปข้อมูลเฉพาะส่วนของการดำเนินงานตามแผนพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล ทั้งนี้รายงานฉบับเต็ม ดูได้ที่

http://www.mot.go.th/file_upload/2559/report_gov/report_gov201609.pdf

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ  เริ่มบริการเดินรถเมื่อวันที่  6 สิงหาคม  2559 ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ  จำกัด (มหาชน) (BEM) ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเดินรถ ระยะเวลา 30 ปี

2โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ  มีความคืบหน้าคือ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ 100%  งานโยธา ได้ผลงาน 83.91% เร็วกว่าแผน 0.41% 

งานระบบรถไฟฟ้า  ปัจจุบันอยู่ระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 และคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559   การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เชิญ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ  จำกัด (มหาชน) (BEM) รับเอกสารประกอบการจัดทำข้อเสนอ ในวันที่ 20 กันยายน  2559 และกำหนดให้ BEM ยื่นข้อเสนอด้านความสามารถในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา และการดำเนินโครงการ (ข้อเสนอด้านเทคนิค) และข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ข้อเสนอด้านการเงินการลงทุน) ภายในวันที่ 27 กันยายน 2559

BEM ได้นำส่งข้อเสนอฯให้รฟม.แล้ว โดยคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 และคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 มีมติให้รฟม.ตรวจสอบรายละเอียดข้อเสนอฯ ดังกล่าว  ขณะนี้อยู่ระหว่างรฟม. ดำเนินการ

3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ  มีผลงานดังนี้ านโยธา ได้ผลงาน 97.79% เร็วกว่าแผน 1.33%

งานระบบรถไฟฟ้า&เดินรถ (สัญญาที่ 3) ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกทม. และผู้ว่าการ รฟม. ได้ลงนามใน MOU ร่วมกัน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 และ กระทรวงคมนาคมได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม. 2559 แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการมอบหมายให้กทม. เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต  สัญญาที่ 1 - 3 เริ่มงานเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน  2558  มีผลงานคือ งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ 94.57% เร็วกว่าแผน 2%  งานโยธา ผลงานแล้วเสร็จ 13.77% เร็วกว่าแผน 2.81%

งานระบบรถไฟฟ้า&เดินรถ  ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกทม. และ ผู้ว่าการ รฟม. ได้ลงนามใน MOU ร่วมกันเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 และคค.ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการมอบหมายให้กทม. เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ - คูคต และช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ 

5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี  มีความคืบหน้าคือ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่  19 มิถุนายน 2559 มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินงานก่อสร้างโครงการ ดังนี้ อนุมัติให้ก่อสร้างงานโยธา กรอบวงเงินรวม 82,907 ล้านบาท (ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์) และอนุมัติแหล่งเงินโครงการจากเงินกู้และงบประมาณ

งานก่อสร้างโยธาอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา และงานสำรวจอสังหาริมทรัพย์ รฟม. ได้ผู้รับจ้างแล้วเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน

6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี  มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 มีนาคม  2559 อนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ เป็นระบบ Monorail โดยให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost และอนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 6,847 ล้านบาท

รฟม. ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 35 เแล้ว เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559

คณะกรรมการ ม.35 ได้มีมติเห็นชอบแผนการดาเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ ประกาศเชิญชวนทางหน้าหนังสือพิมพ์ ร่างหนังสือแจ้งสถานทูต ร่างสัญญาสัมปทาน และเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน (Request for Proposal Document: REP) และมอบ รฟม. ดาเนินการประกาศเชิญชวนฯ และจำหน่ายเอกสาร REP

รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ โดยมีกาหนดจำหน่าย REP ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 – 5 สิงหาคม 2559 และกาหนดให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559

งานสำรวจอสังหาริมทรัพย์ รฟม. ได้ผู้รับจ้างแล้ว เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559

7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง   ช่วงลาดพร้าว-สำโรง  ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559   มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ เป็นระบบ Monorail โดยให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost และอนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 6,847 ล้านบาท

รฟม. ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แล้ว เมื่อวันที่ 12 เมษายน  2559

คณะกรรมการ ม.35 ได้มีมติเห็นชอบแผนการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ประกาศเชิญชวนทางหน้าหนังสือพิมพ์  ร่างหนังสือแจ้งสถานทูต ร่างสัญญาสัมปทาน และเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน (Request for Proposal Document: REP) และมอบ รฟม. ดำเนินการประกาศเชิญชวนฯ และจำหน่ายเอกสาร REP

รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ โดยมีกำหนดจำหน่าย REP ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฏาคม 2559 – 5 สิงหาคม 2559 และกำหนดให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 7 พฤศจิกายน  2559

งานสำรวจอสังหาริมทรัพย์ รฟม. ได้ผู้รับจ้างแล้ว เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559

8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง  ช่วงบางซื่อ – รังสิต   งานก่อสร้าง สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง ได้ผลงานร้อยละ 50.43  งานก่อสร้างสัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต ได้ผลงานร้อยละ 74.17  งานก่อสร้างสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าเครื่องกลและตู้รถไฟฟ้า ได้ผลงานร้อยละ 2.78

9.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท- มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง

ที่ประชุมครม. มีมติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม  2559 อนุมัติให้ รฟท. ดำเนินโครงการก่อสร้างและอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และดำเนินการต่อไปได้

รฟท. ได้ลงนามจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และจัดประกวดราคาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เริ่มงานวันที่ 26 พฤษภาคม  2559 กำหนดแล้วเสร็จ ธันวาคม  2559 โดยได้ประชุมคณะกรรมการร่าง TOR งานก่อสร้าง ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม  2559

10.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท   คณะกรรมการ สศช. มีมติให้ชะลอการลงทุนโครงการ ออกไปก่อน กระทรวงคมนาคม(คค.) ได้สั่งการให้ รฟท. ทบทวนและเสนอต่อ คค. พิจารณาโดยเร็ว

#