อาคารเขียว “เลี้ยวขวา” เดินหน้าออกแบบและก่อสร้างเพื่อตอบแทนที่ดีกว่า
  • 14 สิงหาคม 2018 at 10:49
  • 2238
  • 0

“เอาทั้งเงินทั้งกล่อง”  “เอากล่องมาใส่เงิน”  เป็นวลีที่ล้อเลียนกึ่งชี้นำถึงการทำงานที่ต้องได้รางวัลและได้ผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดี  วลีนี้ครอบคลุมงานสร้างสรรค์โฆษณาที่มีการประกวดประจำปีในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก   ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างวลีนี้มีโอกาสขยายร่มเงามาถึงเมื่อมีรายงานบทวิเคราะห์ออกมาว่า การสร้างอาคารเขียวให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

จุดเริ่มต้นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปัญหาโลกร้อน  ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ส่งผลลบต่อทุกประเทศ ทุกชีวิตบนโลกใบเดียวกัน แม้ว่าฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมแตกต่างกัน  กระแสที่ตระหนักตื่นตัวกับผลกระทบระดับ “ล้างโลก” อันหมายถึงมนุษย์ไม่อาจดำรงชีวิตบนโลกดาวเคราะห์ดวงที่สามในระบบสุริยะจักรวาล กาแล็กซี่ทางช้างเผือกได้อีกต่อไป เป็นกระแสที่แรง  แรงมาก แรงน้อย  สลับกันไป   แต่กระนั้นก็มีสภาวะกดดันให้มีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น

“ล้างโลก-สิ้นโลก” ย่อมน่ากลัวเสมอ  แม้ว่าแต่ละคนมีความรู้ และความรู้สึกว่า เป็นเรื่องใกล้ตัว  - เรื่องไกลตัวสลับกันไป

ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องเกี่ยวข้องมีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการกู้สถานการณ์โลกร้อน ทั้งนี้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง  และมีมาตรการที่รวมศูนย์หลายๆ เรื่องเข้าด้วยกันคือ เรื่อง “อาคารเขียว” Green Building

อาคารเขียวมีกฎเกณฑ์การประเมินในครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2533 นั่นคือเกณฑ์ BREEAM (Building Research Establishment Environmental Assessment Method)  ปัจจุบันมีอาคารได้รับการรับรองจากเกณฑ์ BREEAM แล้วกว่า 250,000 โครงการ จากมาตรฐาน BREEAM ที่เป็นจุดเริ่มต้นปัจจุบันมีมาตรฐานอาคารเขียวมากกว่า 30 มาตรฐาน จากนานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป สำหรับประเทศไทยนิยมใช้  LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) ที่พัฒนาโดย U.S. Green Building Council (USGBC) LEED ได้รับความนิยมทั่วโลกในอันดับต้นๆ  โดยเป็นระบบในการออกใบประกาศการยอมรับอาคารเขียวในระดับนานาชาติ เพื่อแสดงให้รู้ว่าอาคารมีการออกแบบ และก่อสร้างตามลักษณะของการประหยัดพลังงาน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

LEED ประกาศใช้ตัวครั้งแรกพ.ศ. 2543   และเนื่องจากเป็นมาตรฐานอาคารเขียวของสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศผู้นำอันดับหนึ่งทางเศรษฐกิจ และผู้นำทางด้านอื่นๆ ทำให้มาตรฐานอาคารเขียว LEED แทบจะเป็น “มาตรฐานแม่ของอาคารเขียวทั่วโลก”   ในประเด็นนี้รวมถึงมาตรฐานหรือเกณฑ์อาคารเขียวของไทยด้วย

เกณฑ์อาคารเขียวของไทย Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability for New Construction and Major Renovation หรือ TREES เปิดตัวพ.ศ. 2555 และดำเนินการโดยสถาบันอาคารเขียวไทย อย่างไรก็ตามอาคารเขียวในไทยยังเน้นการได้รับ LEED  จากสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ แม้ว่าในเวลาเดียวกับอาจขอรับมาตรฐาน TREES ของไทยด้วย

อาคารเขียวในไทย อาคารเขียวไทย TREES

อาคารแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานอาคารเขียว LEED จากUSGBC สหรัฐอเมริกา  คือ Interface FLOR Mfg. Facility. Ext.  โดยได้รับ LEED  ระดับ certified  เมื่อพ.ศ. 2550  รวมยอดสะสมอาคารในประเทศไทยที่สมัครขอรับรองอาคารเขียวจาก USGBC จำนวนราว 130 โครงการ ได้รับการรับรองแล้วจำนวน 71 โครงการ ในสวนเกณฑ์ TREES ของประเทศไทยที่เพิ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2555 นั้นยอดยื่นขอรับรองสะสมมากกว่า  70 โครงการ มีโครงการที่ได้รับการรับรองมาตร TREES  (ดูที่ http://www.tgbi.or.th/project  เมื่อวันที่ 18/8/2561)  ในที่นี้นำเสนอบางส่วนโดยเรียงอันดับจากวันเวลาล่าสุด ดังนี้

1.โตโยต้าทองรวยสีมา สาขาปรุใหญ่ บริษัท โตโยต้าทองรวยสีมา จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 22/1/2018

2.โชว์รูมโตโยต้า ดีเยี่ยม สาขาพิบูลมังสาหาร บริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ SILVER เมื่อวันที่ 24/1/2018

3.โตโยต้า ชัยรัชการ สาขาเกษตรนวมินทร์ บริษัท โตโยต้า ชัยรัชการ จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 1/6/2018

4. โชว์รูม สํานักงานและศูนย์บริการ โตโยต้า บัสส์ สาขาพระราม 2 บริษัท โตโยต้าบัสส์ จํากัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 2/6/2018

5. โชว์รูม สำนักงานและศูนย์บริการ โตโยต้าชัยนาท 2015              บริษัท โตโยต้า ชัยนาท 2015 จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 2/6/2018

6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์  บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด  อาคารได้ที่ผ่านการรับรอง ในระดับ PLATINUM เมื่อวันที่ 4/4/2017

7. โตโยต้า เมืองนนท์ สาขาชัยพฤกษ์ บริษัท โตโยต้าเมืองนนท์ จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 28/4/2017

8. อาคารโชว์รูมรถยนต์และศูนย์บริการ โตโยต้า จีเอ็นดี ชลบุรีบริษัท โตโยต้ จีเอ็นดี ชลบุรี จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 19/5/2017

9.  โตโยต้าพิษณุโลก สาขานครไทย บริษัท โตโยต้าพิษณุโลก ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 12/6/2017

10. โชว์รูม สํานักงาน ศูนย์บริการ โตโยต้า นครชลบุรี บริษัท โตโยต้า นครชลบุรี จํากัดอาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 12/7/2017

11. โชว์รูมและศูนย์บริการ โตโยต้าแก่นนคร สาขาบ้านดอน บริษัท โตโยต้าแก่นนคร จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ PLATINUM เมื่อวันที่ 12/7/2017

12. โตโยต้า นนทบุรี สาขาไทรน้อย บริษัท โตโยต้านนทบุรี ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ SILVER เมื่อวันที่ 15/8/2017

13. โชว์รูมสำนักงานและศูนย์บริการโตโยต้า นครระยอง บริษัท โตโยต้า นครระยอง จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 15/8/2017

14. โตโยต้า เมืองเพชร สาขาท่ายาง บริษัท โตโยต้า เมืองเพชร จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ SILVER เมื่อวันที่ 15/8/2017

15. โตโยต้า เอกนิมิตไทย สาขา กาญจนาภิเษก-บางใหญ่ บริษัท โตโยต้า เอกนิมิตไทย จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 15/8/2017

16. อาคารโชว์รูมและศูนย์บริการ โตโยต้าเฟรนส์ชิบ สาขานวนครบริษัท โตโยต้าเฟรนส์ชิบ จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 15/8/2017

17. โชว์รูมและศูนย์บริการ โตโยต้าสุรินทร์ สาขาศีขรภูมิ บริษัท โตโยต้าสุรินทร์ (1991) จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 16/8/2017

18. โครงการ โชว์รูม สำนักงาน และศูนย์บริการโตโยต้าลำปาง สาขาห้างฉัตร             บริษัท โตโยต้าลำปาง จำกัด สาขาห้างฉัตร                อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 19/9/2017

19. Totota Rich Green Showroom บริษัท โตโยต้าริช จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ SILVER เมื่อวันที่ 10/10/2017

20. โตโยต้าเพชรบุรี สาขาชะอำ-บ่อแขม  ห้างหุ้นส่วยจำกัด โตโยต้าเพชรบุรี ผู้จำหน่ายโตโยต้า อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 9/11/2017

21. อาคาร อีอีซี อคาเดมี บริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 4/12/2017

22. โชว์รูมและศูนย์บริการ โตโยต้าร้อยเอ็ด สาขาโพนทอง บริษัท โตโยต้าร้อยเอ็ด ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 11/1/2016

23. CPF Bang Nam Priao DC  บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ CERTIFIED เมื่อวันที่ 29/2/2016

24. โตโยต้ายโสธร สาขาเลิงนกทา บริษัท โตโยต้ายโสธร จำกัด สาขาเลิงนกทา อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 3/5/2016

25. ยามาฮ่าไรเดอร์สคลับ (Yamaha Riders Club)  บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด  อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ SILVER เมื่อวันที่ 14/12/2016

26. อาคาร ๖๐ พรรษาราชสุดาสมภพ                โรงเรียนจิตรลดา   อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ PLATINUM เมื่อวันที่ 2/4/2015

27. IDEO Mobi Sathorn   บริษัท อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)   อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ SILVER เมื่อวันที่ 21/7/2015

28. CP ALL ACADEMY บริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน) อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 4/8/2015

29. Nation ITMX CO., LTD  บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์  จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 3/8/2015

30. อาคารพาณิชย์ (โชว์รูมและสำนักงาน) พิธาน หาดใหญ่ สาขาสะเดา  บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด สาขาหาดใหญ่          อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 30/9/2015

31. ร้าน 7-Eleven สาขาธาราสแควร์                บริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  อาคารได้รับการรับรอง ในระดับ PLATINUM เมื่อวันที่ 1/6/2014

32. อาคารโชว์รูมสำนักงานและศูนย์บริการ โตโยต้า เภตรา บริษัท โตโยต้า เภตรา จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 25/12/2014

33. อาคารโชว์รูม สำนักงานและศูนย์การมาตรฐาน โตโยต้าไทนย็น (สาขาปากช่อง) บริษัท โตโยต้า ไทยเย็น จำกัด อาคารได้ผ่านการรับรอง ในระดับ GOLD เมื่อวันที่ 26/9/2013

อาคารเขียวผลตอบแทนสูงกว่า

กลางปี 2561 สำนักงาน Economic Intelligence Center (EIC) หรือ อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์  มีรายงานวิเคราะห์ว่า การพัฒนา green building ในไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยมีแรงผลักดันมาจากเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code: BEC) ฉบับใหม่ที่มีกำหนดบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป ประกอบกับผลตอบแทนในการพัฒนา green building ที่มีแนวโน้มสูงกว่าการพัฒนาอาคารทั่วไป

ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาอาคารสำนักงานทั่วไป ควรพิจารณายกระดับขึ้นสู่มาตรฐานอาคารเขียว green building เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินที่สูงกว่า โดย Net Present Value (NPV) ของอาคารสำนักงาน green building มีแนวโน้มสูงกว่าสำนักงานทั่วไปราว 50% ขณะที่ Discount Payback Period (DPP) เร็วกว่าสำนักงานทั่วไปประมาณ 10%

ขณะเดียวกันความท้าทายหรืออุปสรรคของการพัฒนา green building ในไทยมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ

ประการแรก การขาดแคลนที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนา green building โดยเฉพาะ

ประการที่สองความคุ้มค่าของทางเลือกอื่นๆ ในการขอรับพื้นที่ก่อสร้างรวมของอาคารที่มากขึ้น (Floor Area Ratio bonus หรือ FAR bonus)

อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ แนะนำว่า ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา green building โดยเฉพาะที่ปรึกษา และผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรเตรียมความพร้อมและสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญ เนื่องจากในปัจจุบัน ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ green building ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ก่อสร้าง green building โดยเฉพาะโครงการสำนักงานขนาดใหญ่มีจำนวนเพียง 1-2 รายเท่านั้นที่มีงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากแนวโน้มความนิยมของ green building ที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างขึ้นต่อเนื่อง ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องควรเตรียมพร้อมและสร้างความเชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนา green building ในอนาคต เช่น การสนับสนุนให้พนักงานเข้ารับการอบรมและสอบเป็น LEED-AP เป็นต้น

ข้อเสนอต่อภาครัฐคือ รัฐบาลควรพิจารณาสนับสนุนสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ในการก่อสร้างและการปรับปรุงอาคารเก่าให้กลายเป็น green building นอกเหนือจาก FAR bonus ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากผังเมืองอยู่แล้ว ภาครัฐควรพิจารณาการนำสิทธิประโยชน์ในลักษณะอื่นๆ เข้ามากระตุ้นให้ผู้ประกอบการหันมาก่อสร้าง green building มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของทางสหรัฐฯ แม้ภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมการก่อสร้าง green building ผ่านการให้ FAR bonus แต่ยังมีการสนับสนุนการลดภาษีรายได้และภาษีสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนการปรับปรุงอาคารเก่าให้กลายเป็น green building เพื่อเป็นการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน

อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์  นำเสนอบทสรุปเกี่ยวกับการสร้างอาคารเขียวให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าว่า

ข้อแรก ผู้พัฒนาอาคารสำนักงานไม่ควรมองข้ามการยกระดับโครงการสู่มาตรฐาน green building แม้ต้นทุนสูงกว่า แต่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น จากค่าเช่าสำนักงานที่สูงขึ้น และพื้นที่ก่อสร้างอาคารที่มากขึ้น ทั้งนี้ อีไอซี ประเมินว่าผลตอบแทนที่ได้นั้น มีแนวโน้มมากกว่าต้นทุนการพัฒนา green building ที่สูงขึ้น สะท้อนจาก NPV ของโครงการ green building ที่มีแนวโน้มสูงกว่าราว 50% และ DPP ที่เร็วกว่าการพัฒนาอาคารสำนักงานทั่วไปประมาณ 10%

ข้อที่สอง ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา green building โดยเฉพาะที่ปรึกษา และผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรเตรียมความพร้อมและสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญ เนื่องจากในปัจจุบัน ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ green building ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ก่อสร้าง green building โดยเฉพาะโครงการสำนักงานขนาดใหญ่ ก็มีจำนวนเพียง 1-2 รายเท่านั้นที่มีงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากแนวโน้มความนิยมของ green building ที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างขึ้นต่อเนื่อง ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องควรเตรียมพร้อมและสร้างความเชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนา green building ในอนาคต เช่น การสนับสนุนให้พนักงานเข้ารับการอบรมและสอบเป็น LEED-AP เป็นต้น

ข้อที่สาม รัฐบาลควรพิจารณาสนับสนุนสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ในการก่อสร้างและการปรับปรุงอาคารเก่าให้กลายเป็น green building นอกเหนือจาก FAR bonus ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากผังเมืองอยู่แล้ว ภาครัฐควรพิจารณาการนำสิทธิประโยชน์ในลักษณะอื่นๆ เข้ามากระตุ้นให้ผู้ประกอบการหันมาก่อสร้าง green building มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของทางสหรัฐฯ แม้ภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมการก่อสร้าง green building ผ่านการให้ FAR bonus แต่ยังมีการสนับสนุนการลดภาษีรายได้และภาษีสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนการปรับปรุงอาคารเก่าให้กลายเป็น green building เพื่อเป็นการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน

บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจมีพลังเสมอ โดยเฉพาะบทวิเคราะห์จากสถาบันการเงินเช่น อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ในแง่ของผู้รับเหมาก่อสร้างควรพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือในการสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED และ TREES  รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ  และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาคารสิ่งปลูกสร้าง เครื่องใช้สำนักควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานอาคารเขียว เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองให้กับเจ้าของโครงการอาคารเขียวต่างๆ  ที่มุ่งหวังได้ทั้งกล่องและเงิน “เลี้ยวขวา”  สู่การทำกำไรที่สูงกว่า  เมื่อเดินหน้าสร้างอาคารเขียว

#