SEC โครงการเร่งด่วน 8 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 2,677.31 ล้านบาท

การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในเชิงพัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือ  การพัฒนาด้านพลังงาน ทั้งพัฒนาพลังงานไฟฟ้า และพลังทางเลือกอื่นๆ มักมีอุปสรรคอยู่เสมอๆ  อันเนื่องจากประชาชนในจังหวัดภาคใต้จำนวนหนึ่ง  เห็นว่า   แนวคิด แนวทาง โครงการและแผนงานพัฒนาจากภาครัฐนั้น อาจทำลายผลประโยชน์พื้นฐานของชุมชนและท้องถิ่น  เช่น  การประมง  การท่องเที่ยว  เกษตรกรรม และปศุสัตว์  อย่างไรก็ตามพื้นที่ภาคใต้มีความจำเป็นต้องพัฒนาด้านอื่นๆ  นอกเหนือจากการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ-ธุรกิจที่มีอยู่เดิม

 

ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน

แนวคิด “อย่างยิ่งยืน” มีโอกาสต่อท้าย เป็น “นามสกุล”  กำกับเรื่องราวต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม การใส่ “นามสกุล”   เป็นเสมือน “ธรรมเนียมปฏิบัติ”  ของสังคมไทย  เมื่อต้องการตกแต่งหรือผลัดแป้งทาหน้าเรื่องราวต่างๆ แม้อาจไม่แน่ใจได้ว่า  ความเข้าใจในเรื่อง “อย่างยั่งยืน” ตรงกันหรือไม่

แต่อย่างไรกากรพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ก็มีความคืบหน้าอีกขั้นหนึ่ง (แม้เป็นเพียงความคืบหน้าในที่ประขุมคณะรัฐมนตรี)  นั่นคือ

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มกราคม  2562  เรื่อง การศึกษาความเหมาะสมในรายละเอียดของรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชุมพร – ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการศึกษาความเหมาะสมในรายละเอียดของรูปแบบการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชุมพร  - ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช (การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ภายใต้กรอบการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่

(1) การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก

(2) การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน

(3) การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง

และ (4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมวัฒนธรรม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่

ประกอบด้วยโครงการจำนวนรวม 116 โครงการ กรอบวงเงินปี 2562 – 2565 รวม 106,790.13 ล้านบาท โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการและขอรับการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามกรอบการพัฒนาดังกล่าวต่อไป

สำหรับโครงการจำเป็นเร่งด่วน (Quick – win)  ที่ สศช. ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 5 โครงการ วงเงิน 448.6973 ล้านบาท เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 (เรื่อง มาตรการด้านการงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท) ในโอกาสแรก หากไม่เพียงพอ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น  ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

 

สาระสำคัญของเรื่อง

1. เรื่องนี้เป็นผลการดำเนินการตามกรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (ประกอบด้วยจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และจังหวัดนครศรีธรรมราช) อย่างยั่งยืน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และเป็นต้นแบบการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยที่ผ่านมาในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบแนวคิดดังกล่าว และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเร่งรัดดำเนินการและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

2. ผลการศึกษาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ฯ  พบว่า ควรมีกรอบการพัฒนาใน 4 ด้าน รวมทั้งมีแผนปฏิบัติการการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC)  พ.ศ. 2562 – 2565 โดยในส่วนจำนวนโครงการภายใต้กรอบการพัฒนาฯ และแผนปฏิบัติการฯ นั้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อเสนอ จากเดิม เป็น โครงการทั้งหมดรวม 116 โครงการ วงเงินรวม 106,790.13 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ต้องขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม 111 โครงการ วงเงิน  102,418 ล้านบาท (มี 5 โครงการ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้ก่อนหน้านี้แล้ว หรือมีแผนจะใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นที่ไม่ใช่เงินงบประมาณ)

ในจำนวนดังกล่าวมีโครงการที่เป็นโครงการจำเป็นเร่งด่วนที่ส่งผลสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน  และมีความพร้อมดำเนินการได้ทันทีในปีงบประมาณ 2562 (Quick – win)  จำนวน 8 โครงการ วงเงินรวม 2,677.3173 ล้านบาท

โดยมี 5 โครงการ จะขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

ซึ่งเป็นโครงการของกระทรวงมหาดไทย  2 โครงการ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 โครงการ

กระทรวงสาธารณสุข 1 โครงการ

และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1 โครงการ

ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบ 5 โครงการ ที่ขอรับงบกลางฯ) ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงายของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว

 

ข้อมูลเพิ่มเติม (หนึ่ง)

โครงการเร่งด่วนโดยทันที (ควิกวิน) จำนวน 8 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 2,677.31 ล้านบาท เป็นโครงการที่มีแหล่งงบประมาณแล้ว 3 โครงการ วงเงินรวม 2,228.62 ล้านบาท ได้แก่

โครงการพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการตลาดของท่าเรือระนองรองรับกลุ่ม BIMSTEC วงเงิน 70 ล้านบาท

โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานระนอง 158.62 ล้านบาท

และโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็น ASEAN Digital Hub

ส่วนอีก 5 โครงการ ครม. ครั้งนี้ ได้อนุมัติงบกลางปี 2562 รวม 448.69 ล้านบาท ได้แก่

โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม วงเงิน 132.8 ล้านบาท

โครงการป่าชายเลนระนองสู่มรดกโลก วงเงิน 85.5 ล้านบาท

โครงการสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรแบบครบวงจร วงเงิน 194.6 ล้านบาท

โครงการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งด้านการบริการดูแลผู้สูงอายุสู่ประเทศไทย 4.0 เทศบาลเมืองชุมพร วงเงิน 12.64 ล้านบาท

และโครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ วงเงิน 20 ล้านบาท

สศช. ได้ประเมิน SEC จะให้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีแรกของการพัฒนาโครงการ (2562-2572) จีดีพี ขยายตัวเฉลี่ย 5% ต่อปี นักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนต่อปี การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยภาคอุตสาหกรรมจะยกระดับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ SEC จะเป็นประตูเศรษฐกิจฝั่งตะวันตก มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงกันทั้งระบบทางบก ทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่เส้นทางชุมพร-ระนอง ท่าเรือนานาชาติระนอง มีการเชื่อมโยงภาคใต้กับอีอีซีและภูมิภาคเอเชียใต้

สำหรับแนวทางการพัฒนา SEC มี 4 ด้าน ได้แก่

กรอบการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway) มีโครงการต้องดำเนินการ จำนวน 10 โครงการวงเงินรวม 4.92 หมื่นล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทย-ฝั่งอันดามัน-ประเทศในแถบเอเชียใต้

กรอบการพัฒนาที่ 2 การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน (Royal Coast and Andaman Route) มีโครงการต้องดำเนินการ จำนวน 31 โครงการ วงเงินรวม 3.95 หมื่นล้านบาท

กรอบการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง (Bio-Base and Processed Agricultural Products) จำนวน 32 โครงการ วงเงินรวม 6.49 พ้นล้าน

และกรอบการพัฒนาที่ 4 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการส่งเสริมวัฒนธรรมและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ (Green Culture Smart and Livable Cities) จำนวน 38 โครงการ วงเงินรวม  7.12  พันล้านบาท

 

ข้อมูลเพิ่มเติม (สอง)

กรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซี) อย่างยั่งยืนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างหลังจากที่ได้ผ่านมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่เมื่อวันที่ 21  สิงหาคม  2561  (การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 6/2561 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร)  โดยเบื้องต้นมุ่งพัฒนาใน 4 จังหวัดเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง คือ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ จ.ชุมพร คือแหล่งผลไม้และท่องเที่ยว

จ.ระนอง คือ ท่าเรือสู่พม่า อินเดีย ลังกา บังกลาเทศ

จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช คือพื้นที่เกษตรที่จะเป็นแหล่งผลิตและแปรรูป

พร้อมกันนี้กำหนดให้มีเส้นทางรถไฟรางคู่เชื่อม จ.ชุมพร และ จ.ระนอง เป็นรองรับการเชื่อมพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับทะเลอันดามัน ทำให้สินค้าแปรรูปจากจังหวัดในภาคใต้ส่งไปยังกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่างประเทศในอ่าวเบงกอล หรือบิมสเทค 7 ประเทศ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่เคียงคู่ไทยแลนด์ ริเวียราจาก จ.เพชรบุรี สู่ จ.ชุมพร

แนวทางในการพัฒนาและพื้นที่เป้าหมาย แบ่งพื้นที่ตามศักยภาพเฉพาะของแต่ละพื้นที่โดยแบ่งเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่

1. พื้นที่ภาคใต้ตอบล่าง ประกอบด้วย สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส ซึ่งมีปัจจัยด้านความมั่นคงที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาพื้นที่ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” รวมถึงมีการประกาศพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลาและนราธิวาส เพื่อเป็นการยกระดับการกระจายตัวทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตชองประชาชน

2. พื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา กระบี่ ตรัง และภูเก็ต โดยพื้นที่ภาคใต้ตอนกลางเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญด้านการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้สูงให้แก่ประเทศ

และ 3. พื้นที่ภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย ชุมพร และระนอง เป็นพื้นที่ ที่ยังมีการพัฒนาไม่มาก เนื่องจากที่ตั้งของจังหวัดเป็นลักษณะเมืองผ่านและจังหวัดระนองมีข้อจำกัด ด้านการเดินทางทางถนน

ปัจจุบันจังหวัดชุมพร และระนอง เริ่มมีบทบาทเป็นจุดหมายปลายทาง ด้านการท่องเที่ยวทางทะเลแห่งใหม่ที่สามารถรองรับการพัฒนาในอนาคต รวมถึงรัฐบาลอยู่ระหว่างการพัฒนา ระบบรถไฟทางคู่ไปยังจังหวัดชุมพร และมีแผนที่จะเชื่อมโยงทางรถไฟจากชุมพรไปยังระนอง

แนวทางในการพัฒนา ประกอบด้วย

1. การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway)ให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายและใช้ประโยชน์ในการเป็นประตูส่งออกสินค้าฝังตะวันตกเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศอินเดีย

2. การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน (Royal Coast & Andaman Route)ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำแห่งใหม่กับแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเลียบชายฝังทะเลอ่าวไทยเชื่อมโยงฝังอันดามันและพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ

3. การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง (Bio-Based & Processed Agricultural Products) จากการใช้ทรัพยากรการผลิตทั้งในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแปรรูปการเกษตรและการประมงในภาคใต้ รวมทั้งการพัฒนาต่อยอด เกษตรแปรรูปผลไม้ ประมง ยางพาราในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดจากการผลิตน้ำมันปาล์มในพื้นที่ให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง อาทิ Phase Change Material และยกระดับเกษตรกรรายย่อยให้มีความสามารถในการผลิตและการแปรรูป และยกระดับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเกี่ยวกับปาล์มและยางพารา

4. การอนุรักษ์ทรัพยากรและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวและการเรียนรู้ (Green & Culture) เน้นการพัฒนาและศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ป่าไม้และป่าชายเลน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ อาทิ การฟื้นฟูป่าชายเลนและแนวปะการังเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางทะเล อาทิ การพัฒนาการเพาะพันธุ์และการเลี้ยงกุ้งมังกร กุ้งทะเล และหอยมุก รวมทั้งการรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน

พื้นที่เป่าหมายหลักในการพัฒนา ประกอบด้วย

1. พื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง : พัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยใช้ศักยภาพของจังหวัดชุมพรที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและจุดดำน้ำระดับโลก และจังหวัดระนอง ที่มีแหล่งน้ำแร่ และแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นแม่เหล็กในการดึงดูด นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ พื้นที่จังหวัดระนองสามารถใช้เป็นฐานในการแปรรูปอาหารทะเลต่อยอดจากฐานเดิมในพื้นที่ และสามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์ท่าเรือระนองให้เป็นประตูส่งออกสินค้าฝั่งตะวันตกไปยังท่าเรือหลัก ในกลุ่มประเทศ BIMSTEC ไต้ในอนาคต

2. พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช : พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ฐานชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดจากการผลิตนน้ำมันปาล์มในพื้นที่ให้เป็น สินค้าที่มีมูลค่าสูง อาทิ Phase Change Material (PCM) และ Nutritional foods การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา โดยการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพร้อมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากยางพาราแทนการส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น รวมทั้งการต่อยอดอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบในพื้นที่

3. พื้นที่เชื่อมโยงอื่นๆ ได้แก่ พื้นที่จังหวัดพังงา-ภูเก็ต-กระบี่ : พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพขั้นนำของโลก โดยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการบริการ และส่งเสริมธุรกิจต่อเนื่อง เช่น อาทิ อุตสาหกรรมต้านการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) และการท่องเที่ยวโดยเรือใบฝั่งอันดามัน, พื้นที่จังหวัดสตูล-ตรัง-พัทลุง : พัฒนาและศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ป่าไม้ และป่าชายเลนให้มิความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างการท่องเที่ยวในรูปแบบ Eco & Cultural Tourism และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมซาติและวัฒนธรรม สร้างความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวสตูล-ตะรุเตา-ลังกาวี

4. พื้นที่จังหวัดยะลา-ปัตตานี-นราธิวาส-สงขลา : พัฒนาตามแนวทางสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เชื่อมโยงเศรษฐกิจลับจังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการประกาศ เป็นเซตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการนุ่งเน้นสร้างความเชื่อมั่นให้ลับผู้บริโภคสินค้าฮาลาลตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ และกระบวนการผลิตให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ซี่งจะเป็นการส่งเสริมธุรกิจการผลิตสินค้าฮาลาลในพื้นที่ให้ครบ วงจรและล่งเสริมการเป็นศูนย์กลางของอาหารฮาลาล รวมทั้งการสร้างแหล่งท่องเที่ยวชุมซนในพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

รูปแบบการพัฒนา ในเบื้องต้นจากแนวทางในการพัฒนาและพื้นที่เป๋าหมายหลักดังกล่าวข้างด้น เห็นได้ว่าการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดพังงา-ภูเก็ต-กระบี่ เป็นพื้นที่ที่มีระดับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวสูงและ ที่ผ่านมาภาครัฐและภาคเอกซนได้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวไปแล้วเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพัฒนา พื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ในระยะแรก ควรพิจารณาเน้นการลงทุนเพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะช่วยสร้าง โอกาสให้ลับประซาซนและภาคธุรกิจในการสร้างรายได้ โดยเน้นการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช เป็นลำดับแรก โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) พื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง (Royal Coast & Andaman Route และ Western Gateway) : พัฒนาพื้นที่ชุมพรและระนองให้เป็นประตูสู่การท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ฝังอ่าวไทยและฝังอันดามันโดยนุ่งเน้นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ให้ความสำคัญลับ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวซายฝังทะเลซองจังหวัดชุมพร โดยเฉพาะจุดดำน้ำตามเกาะต่างๆ ของจังหวัดชุมพรให้สอดรับลับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวขายฝัง ทะเลอ่าวไทย (Royal Coast) และเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวจากจังหวัดชุมพรไปสู่แหล่งน้ำแร่ และเกาะต่างๆ ของจังหวัดระนอง รวมทั้งเกาะต่างๆ ของประเทศพม่า

การดำเนินการอาจพิจารณากำหนดรูปแบบการพัฒนาเมืองระนอง ให้ เป็น Smart Living City ที่มีการวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ทันสมัยเพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ และปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดชุมพร-ระนอง เพื่อให้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดลัย รวมทั้งพิจารณาศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงเส้นทาง รถไฟระหว่างชุมพร-ระนอง ที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากท่าเรือระนองลำหรับการเป็นประตูสู่ตะวันตก (Western Gateway) สำหรับการขนล่งเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียใต้ในอนาคต

2) พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช (Bio-Based Industryและ Processed Agricultural Products) : พัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอด จากการผลิตน้ำมันปาล์มในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง (กระบี่ และชุมพร) ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น การดำเนินการอาจพิจารณากำหนดเขตพื้นที่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพที่ชัดเจน กำหนดสิทธิประโยชน์ การลงทุนที่จะสามารถดึงดูดการลงทุนของภาคเอกซนในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกขนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ในการวิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงจากการผลิตนี้น้ำมันปาล์มและพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้และ ยางพาราในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ส่วนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วย

1) มีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่มีความยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสามารถกระจายกิจกรรม ทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ของชุมชนและภาคธุรกิจ

2) รายได้ภาคการเกษตรปรับตัวสูงขึ้นจากการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า และศักยภาพของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและต่อยอดสู่อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีทางการผลิต ขั้นกลางและขึ้นสูง

3) การพัฒนาเส้นทางโลจิสติกส์สายใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงของเส้นทางโลจิสติกส์ด้านตะวันตกของประเทศรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสามารถเชื่อมโยงโครงข่าย ตอบสนองการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค BIMSTEC และจีน

และ 4) เพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศสูงขึ้นที่เกิดจากการกำหนด เขตอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

แนวทางการพัฒนาในระยะต่อไป ประกอบด้วย

1) ศึกษาความเหมาะสมในรายละเอียดของรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช ตามรูปแบบการพัฒนาโดยครอบคลุม ประเด็นการกำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษ และกำหนดการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน เพื่อกระด้นให้เกิด การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ภายใน 8 เดือน

2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในเบื้องตัน ประกอบด้วย เร่งรัดการพัฒนารถไฟทางคู่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดเร่งรัดศึกษาจัดเตรียมข้อมูลการพัฒนารถไฟสายใหม่ ช่วงชุมพร-ระนอง โดยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี 2562

ศึกษาแนวทางจัดทำแผนการพัฒนาท่าเทียบเรือระนอง เพื่อเตรียมการ รองรับการขนส่งสินค้าเมื่อโครงการรถไฟทางคู่ในพื้นที่แล้วเสร็จ, ศึกษาแนวทางจัดทำแผนการพัฒนาขีดความสามารถท่าอากาศ ยานระนอง ให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่คาดว่าเพิ่มขึ้น รองรับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และเร่งรัดศึกษาการพัฒนาท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ เพื่อรองรับ การท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ และดำเนินการโครงการพัฒนาท่าเรือแวะพัก (Port of call) และสิ่งอำนวยความสะดวก

นอกจากนี้ ยังศึกษาแนวทางจัดแผนการพัฒนาเมืองระนอง ให้เป็น Smart Living City เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ภายใน 8 เดือน

ทั้งนี้ ครม.รับข้อเสนอของภาคเอกชนไปพิจารณา โดยให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาโครงการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ รวม 28 โครงการ มูลค่า 128,391 ล้านบาท เป็นโครงการทางบก 43,000 ล้านบาท อาทิ โครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 8 ในปี 2560-2579 แบ่งเป็น 4 ช่วง คือ นครปฐม-ชะอำ, ชะอำ-ชุมพร, ชุมพร-สงขลา และสงขลา-นราธิวาส

รวมทั้งการขยายจราจร 4 ช่องทาง โครงการทางน้ำ ท่าเรือ 628 ล้านบาท สนามบิน 1,338 ล้านบาท สถานีกันตัง จังหวัดตรัง ท่าเรือนาเกลือ 15 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 83,506 ล้านบาทเป็นโครงการรถไฟทางคู่รวม 4 โครงการ ประกอบด้วย เส้นทาง ชุมพร-ระนอง, สุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น, สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก และ พังงา-กระบี่ อยู่ระหว่างการศึกษา

เมื่อสรุปทั้งหลายทั้งปวงแล้ว มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มกราคม 2562  จึงเป็นการคัดเลือกและความคืบหน้าของโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซี) อย่างยั่งยืน ล่าสุด โครงการประกอบต่างๆ  มีโอกาสดำเนินการได้

#