ท่าเรือมาบตาพุด 3 จำเป็นต้องทำ

การพัฒนาท่าเรือนำลึกให้สามารถขนส่งสินค้าได้มากขึ้นมีความจำเป็น เพื่อรองรับขนาดเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  เรื่องนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศที่เป็นเรื่องปกติสามัญสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก   เมื่อมุ่งหวังว่าเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัว  ก็จำเป็นต้องตระเตรียมความพร้อมต่างๆ ไว้ล่วงหน้า

 

การตระเตรียมพื้นที่ 1,000 ไร่

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 ตุลาคม  2562  เรื่อง การลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เสนอ ในกรอบวงเงิน 55,400,000,000 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของ กนอ. ร่วมลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 12,900,000,000 บาท โดย กนอ. จะชำระให้เอกชนที่ร่วมลงทุน ในช่วงที่ 1 จำนวน 710 ล้านบาท/ปี เป็นระยะเวลา 30 ปี และเอกชนร่วมลงทุน จำนวน 42,500,000,000 บาท

 

สาระสำคัญของเรื่อง

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้

 

องค์ประกอบ

รายละเอียด

ช่วงดำเนินการ

และสิทธิในการใช้พื้นที่

จำนวนเงินลงทุน

(ล้านบาท)

แหล่งเงินทุน

โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

งานขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็น

· พื้นที่ถมทะเลหลังท่าเพื่อใช้งานประมาณ 550 ไร่ (เพื่อก่อสร้างท่าเรือ และพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงาน)

· พื้นที่บ่อเก็บกักตะกอนดินเลน ประมาณ 450 ไร่

ดำเนินการในช่วงที่ 1 โดยเอกชนจะได้รับสิทธิในการพัฒนาพื้นที่ 35 ปี (ปี 2563-2597) โดยใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และดำเนินกิจการท่าเรือก๊าซ 30 ปี

12,900

งบประมาณ

ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การลงทุนบนพื้นที่ที่ได้จากการถมทะเลในช่วงที่ 1 (Superstructure)

ท่าเรือก๊าซ (พื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร)

35,000

เงินลงทุน

เอกชน

ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า (พื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร)

ดำเนินการในช่วงที่ 2 โดยเอกชนจะได้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่ 32 ปี  (ปี 2566-2597) โดยใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และระยะเวลาดำเนินกิจการ 30 ปี

4,300

คลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ (พื้นที่ 150 ไร่)

3,200

* การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นมูลค่าปัจจุบันไม่เกิน 12,900 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี จะชำระเงินร่วมลงทุนสุทธิ 710 ล้านบาทต่อปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562

นอกจากนี้ ภายในโครงการฯ ยังประกอบด้วยสาธารณูปโภคอื่น ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบดับเพลิง ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

 

 

ลำดับความคืบหน้าโครงการมาบตาพุด 3

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) (วันที่ 24 กันยายาน 2562) เห็นชอบต่อผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมทุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอมา

สำหรับบริษัทผู้ที่ได้รับการคัดเลือก คือ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบมจ.ปตท. (PTT) โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จะชำระเงินร่วมลงทุนของรัฐ จำนวน 1,010 ล้านบาท/ปี และได้รับค่าให้สิทธิการร่วมลงทุนจากเอกชนกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีทีแทงค์ จำนวน 300 ล้านบาท/ปี คิดเป็นค่าร่วมลงทุนที่จ่ายให้กับเอกชน 710 ล้านบาท/ปี เป็นระยะเวลา 30 ปี

ต่อมา  วันที่  1 ตุลาคม  2562 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้  ( 1ตุลาคม ) หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดซึ่งเป็นพื้นที่ถมทะเล 1,000 ไร่ ในการพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรม มาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) กนอ.ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด  ที่เป็นผู้ชนะประมูลโครงการดังกล่าว โดยเป็นสัญญาร่วมทุนในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) NET Cost หรือร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยให้เอกชนได้รับสิทธิ์ในการประกอบกิจการบนพื้นที่ 200ไร่ และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง

 

“โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 ช่วงที่ 1 นับเป็น 1 ใน 5 โครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือ EEC Project List ที่ถือเป็นโครงการแรกในการเซ็นสัญญาร่วมทุน กนอ.คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2568 และมั่นใจว่าจะมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้นและนี่จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่งแบบไร้รอยต่อของไทยเพื่อเชื่อมไปสู่ประตูเศรษฐกิจกลุ่มประเทศCLMVT”นายสมคิด กล่าว

ทั้งนี้ภายหลังการลงนามกนอ.จะส่งมอบพื้นที่ให้กับบริษัทคู่สัญญาเข้าสำรวจออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปตามเป็นไปตามสัญญาร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน  พร้อมกันนี้ กนอ.เตรียมเข้าไปยื่นเอกสารต่อกรมเจ้าท่า เพื่อให้การพัฒนาท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะที่3 ช่วงที่ 1 ทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานและส่วนของระบบสาธารณูปโภคภายในพื้นที่ท่าเรือฯเป็นไปตามกฎหมายการขออนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยอย่างถูกต้อง

 

ข้อมูลพื้นฐานมาบตาพุด 3

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยให้เอกชนเข้าร่วมทุน เป็นการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่ตั้งโครงการ   ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่หน้าท่า 550 ไร่ และพื้นที่หลังท่า 450 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวมกัน 2,229 เมตร

สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน  ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ดำเนินการตามมาตรฐานสากลและเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด ในปี พ.ศ. 2559 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดประมาณ 43 ล้านตันต่อปี โดยมีสัดส่วนสินค้าประเภทน้ำมันและก๊าซประมาณร้อยละ 57 ถ่านหินประมาณร้อยละ 18 เคมีภัณฑ์ประมาณร้อยละ 16 และอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 9 มูลค่าสินค้าที่ขนถ่ายผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้งสิ้นประมาณ 430 ล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย จำนวนท่าเทียบเรือให้บริการ 32 ท่า ซึ่งเป็นผู้ให้บริการท่าเทียบเรือเฉพาะกิจ จำนวน 9 ราย และผู้ให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะ จำนวน 3 ราย โดยในปัจจุบันมีการใช้งานเต็มศักยภาพแล้วจึงมีความจำเป็นต้องขยายท่าเรือ

วัตถุประสงค์ของโครงการ   เพิ่มความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งหลังจากดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับสินค้าผ่านท่า (สินค้าด้านปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติ) ได้เพิ่มอีก 19 ล้านตันต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า

องค์ประกอบโครงการ  โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยให้เอกชนเข้าร่วมทุน ประกอบด้วย

งานถมทะเลพื้นที่ 1,000 ไร่ เพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเหลว ก๊าซธรรมชาติ และ พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงาน

งานขุดลอกร่องน้ำและแอ่งกลับเรือความลึก 16 เมตร

งานระบบสาธารณูปโภค

งานอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3

สำหรับการพัฒนาเพื่อรองรับสินค้าเหลว สินค้าเทกองและสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ (1) ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร (2) ท่าเทียบเรือก๊าซ 3 ท่า มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร  (3) ท่าเทียบเรือบริการ (4) คลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ 150 ไร่ (5) บ่อเก็บกักตะกอน 450 ไร่ และ (6) เขื่อนกันคลื่น 2 ช่วง ความยาวรวม 1,627 เมตร

มูลค่าการลงทุนโครงการให้เอกชนเข้าร่วมทุนฯ  มูลค่าการลงทุนเบื้องต้นในงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เท่ากับ 10,154 ล้านบาท

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯ  ประมาณ 30 - 50 ปี ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา

ผลตอบแทนโครงการ (Project Return)  อยู่ระหว่างการศึกษา

รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน  ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) รายละเอียดอยู่ระหว่างการศึกษา

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ  http://www.ieat.go.th/investment/map-ta-phut-industrial-port/map-ta-phut-industrial-port-3

#