เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ร่วมสานฝันเยาวชนไทย ออกไปท่องอวกาศ

รู้ไหมว่า ช่วงชีวิตหนึ่งของ Elon Musk นักธุรกิจฉายา Iron Man ในโลกจริง เคยเป็นศิษย์เก่าคนสำคัญแห่ง space camp ที่ US Space & Rocket Center (USSRC) หรือศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐฯ ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีทั้งนักบินอวกาศ วิศวกร นักวิจัยฯ และผู้มีอิทธิพลในวงการอวกาศโลกอีกหลายคน ก็เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ใน space camp แห่งนี้มาแล้วเช่นกัน...

และนี่คือ เยาวชนไทย ที่จะได้รับโอกาสเช่นเดียวกันกับ Elon Musk และผู้มีอิทธิพลในวงการอวกาศโลก ซึ่งเป็นเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการทุนค้นพบนักบินอวกาศไทย ปีที่ 3 (Discover Thailand’s Astronauts Scholarship Program) ได้แก่ โบนัส จิรภัทร คำนิล จากโรงเรียนนายเรืออากาศมีมี่ ชนิศา พร้อมพัฒนภักดี จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ โจอี้ ถิรวัฒน์ บุญสร้าง จากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์ และโปรตอน - กันตนิสิฐ ลิ้มศุภนุฒิกุล จากโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี

โดยมี บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” ซึ่งคือ ในองค์กรที่มีส่วนสานฝันเด็กไทยให้มีโอกาสได้ออกไปท่องอวกาศ ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาโครงการทุนค้นพบนักบินอวกาศไทย ปีที่ 3 ให้กับเยาวชนไทย ร่วมกับ GISTDA, อสมท. และ OnDemand Education

"โสภณ ราชรักษา" ผู้อำนวยการใหญ่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย กล่าวว่า เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย มีความภาคภูมิใจที่ได้ให้การสนับสนุนโครงการ ทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทย ปี 3’ ซึ่งสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาชุมชนและสังคมที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ ผมขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทั้ง คน ที่ผ่านการทดสอบอันเข้มข้น จนได้รับโอกาสครั้งสำคัญในการสัมผัสประสบการณ์ตรงซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ ในการศึกษาเทคโนโลยีขั้นสูงด้านการบินและอวกาศจากองค์กรระดับโลก ณ ศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ (U.S. Space and Rocket Center – USSRC) บริษัทฯ เชื่อว่า ความรู้และประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้รับจะเป็นประโยชน์กับการศึกษาและการประกอบอาชีพของพวกเขาต่อไปในอนาคต

การได้เป็นนักบินอวกาศ คือความฝันสูงสุดของผม และหลักสูตรนี้จะทำให้ผมเข้าใกล้การเป็นนักบินอวกาศเพียงก้าวเดียว คำพูดนี้บอกแทนทุกความรู้สึกของ จิรภัทร คำนิล หรือ โบนัส หนึ่งใน ผู้ที่ได้รับทุนค้นพบนักบินอวกาศไทย ปี 3 ซึ่งเป็นทุนที่สนับสนุนโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย

โบนัสเล่าว่า ระหว่างที่เขาร่วมทดสอบกับเพื่อนเยาวชนภายใน STEM Camp เขาได้เรียนรู้หลายสิ่ง โดยเฉพาะความเป็นผู้นำและมิตรภาพ และจากการที่โบนัสเป็นผู้แข่งขันที่มีอายุมากที่สุดของทีม เขาจึงมีโอกาสได้แสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในทีมด้วย

สุดท้ายเมื่อเขาได้เป็นหนึ่งใน 4 ตัวแทนคนไทยที่ได้รับทุนค้นพบนักบินอวกาศไทย เขาก็เชื่อว่าโอกาสนี้ จะทำให้เขาได้เรียนรู้เทคโนโลยีของ NASA  และทุนการศึกษานี้จะเตือนเขาด้วยว่า ฉันพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นนักบินอวกาศ

ฉันมีความหลงไหลในเรื่องของดาราศาสตร์และในอนาคตฉันต้องการทำงานที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งโอกาสและประสบการณ์ที่ฉันได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้จะเป็นก้าวแรกที่ช่วยให้ฝันของฉันบรรลุเป้าหมาย มีมี่ ชนิศา พร้อมพัฒนภักดี กล่าว

สำหรับผมวิทยาศาสตร์และการสำรวจอวกาศเป็นวิชาที่ผมชื่นชอบมากที่สุด ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมชอบดูสารคดีอวกาศและอ่านหนังสือเกี่ยวกับอวกาศมากๆ และแน่นอนผมไม่เคยมีประสบการณ์ในการสำรวจอวกาศเลย  แต่ค่ายนี้ได้เติมเต็มความรู้และประสบการณ์ที่ผมไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน และผมจะใช้โอกาสที่ได้รับทุนการศึกษานี้ให้ดีที่สุด โจอี้ ถิรวัฒน์ บุญสร้าง กล่าวเสริม

เหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมทุนการศึกษานี้ เพราะผมชอบทุกสิ่งที่เป็น จรวด’ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ Grid fins (การทำงานของครีบแบบตาราง) และผมก็เป็นแฟนตัวยงของ Elon Musk  ด้วย ครั้งหนึ่งผมกับเพื่อนเคยพยายามที่จะสร้างจรวด ซึ่งเราลองทดสอบเชื้อเพลิงแข็งตามแบบฉบับของเรา และนั่นเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิต แต่สำหรับโอกาสในครั้งนี้ จะเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต ซึ่งจะช่วยสานฝันการเป็นนักวิจัยของผมในอนาคต โปรตอน - กันตนิสิฐ ลิ้มศุภนุฒิกุล บอกอย่างตื่นเต้น

โบนัสและเพื่อนเยาวชนทั้ง คนที่ได้รับทุนฯ จะมีโอกาสร่วมค่าย Space Camp ที่ US Space & Rocket Center (USSRC)  และทัศนศึกษาที่ NASA’s Marshall Space Flight Center ซึ่งเป็นศูนย์อวกาศที่ใหญ่ที่สุดของ NASA ระหว่าง 4-12 เมษายน 2020 นี้

กฤษณ์ คุนผลิน” ผู้แทนศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐฯและศูนย์ข้อมูล NASA ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ที่ US Space & Rocket Center (USSRC) เยาวชนทั้ง 4  จะได้รับการฝึกฝนภายใต้โจทย์ในการปฏิบัติภารกิจในฐานปฏิบัติการจำลองของนาซ่า เช่น นำภารกิจไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แก้ไขระบบวิศวกรรมของสถานีอวกาศนานาชาติ ค้นหาดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรและควบคุมภารกิจที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งภารกิจทั้งหมดนี้ล้วนต้องใช้ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรม คณิตศาสตร์ การทำงานเป็นทีม การเสียสละและความเป็นผู้นำ

ส่วนที่ NASA’s Marshall Space Flight Center ซึ่งเป็นวิทยาเขตแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของ NASA ที่ดูแลการก่อสร้างจรวดและยานอวกาศหลายแห่ง  พวกเขาจะมีโอกาสพูดคุยกับพนักงานที่รับผิดชอบโครงการ Mars หรือ SLS และภาระงานปฏิบัติการของสถานีอวกาศนานาชาติ และแน่นอน มันถือเป็นโอกาสที่ดีมาก ที่เยาวชนทั้ง จะได้แลกเปลี่ยนกับกลุ่มคนที่จะสร้างอนาคตสำหรับมนุษยชาติ กฤษณ์สรุปส่งท้าย

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย เชื่อว่าการสนับสนุนทุนการศึกษานี้จะเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างรากฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับระบบการศึกษาของประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยหวังว่าองค์ความรู้ที่นักเรียนทุนจากโครงการ ทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทย ปี 3’ ได้รับ จะถูกนำมาต่อยอดเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้