รายงานงบการเงินของบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปีการเงิน 2560 และรอบปีการเงิน 2560 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2560 ของบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

 

วันนี้ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศผลการดำเนินธุรกิจของบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปีการเงิน 2560 และรอบปีการเงิน 2560 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2560

บริษัทมีปริมาณการขายในไตรมาสที่ 4 รอบปีการเงิน 2560 ที่ 344,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน และไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน ร้อยละ 14 และร้อยละ 9 ตามลำดับ  โดยมียอดขายสุทธิที่ 5,846 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน และไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน ร้อยละ 26 และ 38 ตามลำดับ

ปริมาณการขายรวมในรอบปีการเงิน 2560 อยู่ที่ 1.263 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่ารอบปีการเงิน 2559 ร้อยละ 10 และยอดขายสุทธิในรอบปีการเงิน 2560 อยู่ที่ 19,701 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ารอบปีการเงิน 2559 ร้อยละ 18

EBITDA ในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีการเงิน 2560 อยู่ที่ 412 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน และสูงกว่าไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน ร้อยละ 22 บริษัทได้ทำการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายพิเศษจำนวน 618 ล้านบาทในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีการเงิน 2560 ประกอบด้วย ประมาณการด้อยค่าสินทรัพย์เตาถลุงเหล็กขนาดเล็ก (MBF) ซึ่งได้หยุดการผลิตมาตั้งแต่ปี 2554 จำนวน 528 ล้านบาท ประมาณการค่าเผื่อสินทรัพย์ล้าสมัย และตัดบัญชีของสินทรัพย์และวัตถุดิบคงคลังเก่าจำนวน 90 ล้านบาท ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีการเงิน 2560 (มกราคม-มีนาคม 2560) มีกำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ (386) ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของรอบปีการเงิน 2560 (ตุลาคม-ธันวาคม 2559) ซึ่งมีกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ 256 ล้านบาท และไตรมาสที่ 4 ของรอบปีการเงิน 2559 (มกราคม-มีนาคม 2559) ซึ่งมีกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ 156 ล้านบาท โดยหากไม่รวมผลกระทบดังกล่าวจะมียอดกำไรก่อนภาษีเงินได้ในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีการเงิน 2560 จำนวน  232 ล้านบาท

บริษัทมี EBITDA ของรอบปีการเงิน 2560 (เมษายน 2559-มีนาคม 2560) จำนวน 1,734 ล้านบาท สูงกว่ารอบปีการเงิน 2559 (เมษายน 2558-มีนาคม 2559) ร้อยละ 98 และมีกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ของรอบปีการเงิน 2560 (เมษายน 2559-มีนาคม 2560) จำนวน 441 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ารอบปีการเงิน 2559 (เมษายน 2558-มีนาคม 2559) ร้อยละ 97 โดยหากไม่รวมผลกระทบดังกล่าว จะมียอดกำไรก่อนภาษีเงินได้ในรอบปีการเงิน 2560 จำนวน  1,059 ล้านบาท

ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ชำระหนี้สินจำนวน 402 ล้านบาท และชำระหนี้สินระยะยาวแล้วทั้งหมด

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ:

ไตรมาส 4 รอบปีการเงิน 2560

ไตรมาส 3รอบปีการเงิน 2560

ไตรมาส 4 รอบปีการเงิน 2559

 

 

12 เดือน รอบปีการเงิน 2560

12 เดือน รอบปี การเงิน 2559

344

303

315

ปริมาณการขายรวม

('000 ตัน)

1,263

1,145

5,846

4,637

4,251

ยอดขายสุทธิ

ล้านบาท

19,701

16,733

412

419

338

EBITDA

ล้านบาท

1,734

877

618

-

-

ปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายพิเศษ

ล้านบาท

618

-

(386)

256

156

กำไร/(ขาดทุน) ก่อนหักภาษี

ล้านบาท

441

223

(423)

229

132

กำไร/(ขาดทุน) หลังหักภาษี

ล้านบาท

214

154

               

 

ภาพรวม

ในปี 2559 เศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2558 ซึ่งเติบโตร้อยละ 2.9 โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.1 ซึ่ได้รับการสนับสนุนจากมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การลงทุนภาครัฐยังคงเติบโตดีต่อเนื่องจากการดำเนินการในหลากหลายโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ในขณะเดียวกัน การเติบโตของการใช้จ่ายและบริโภคภาครัฐเมื่อเทียบปีต่อปียังคงเติบโตช้า สืบเนื่องจากการเร่งการใช้จ่ายเงินในงวดปีก่อนที่สูงขึ้นในช่วงที่มีการทำประมาณการ ทำให้อัตราการเติบโตลดลง การบริโภคทั้งของภาคเอกชนและการลงทุนของภาครัฐได้ขยายตัวต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองที่ดีขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงการกระจายเงินและรายได้สู่เศรษฐกิจชนบท

เป็นที่คาดการณ์ว่างบประมาณในการลงทุนของภาครัฐในโครงการต่างๆ ในปี 2560 จะมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีก่อน  นอกเหนือจากนั้น เศรษฐกิจไทยจะได้รับประโยชน์จากความพยายามของภาครัฐที่ยังคงใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

 

การพัฒนาที่สำคัญ:

บริษัทยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสรรหาผู้ซื้อที่มีศักยภาพในการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์อะไหล่ของโครงการเตาถลุงเหล็กขนาดเล็ก (MBF) ซึ่งได้หยุดผลิตไว้เป็นการชั่วคราว ดังนั้น สินทรัพย์ดังกล่าวจึงได้รับการจัดประเภทรายการใหม่ให้เป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อการขาย

 

คำจำกัดสิทธิความรับผิดชอบ:

ข้อความอธิบายผลการดำเนินงานของบริษัทในเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์นี้ เป็น "ข้อความที่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า" ตามความหมายของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และระเบียบอื่นใด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากที่ได้แสดง สรุป อนุมาน หรือบ่งชี้ไว้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ปัจจัยสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความแตกต่างต่อผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นรวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์/อุปทานและเงื่อนไขของราคาตลาดในประเทศและต่างประเทศที่บริษัทประกอบกิจการอยู่ การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม กฎระเบียบของรัฐบาล กฎหมาย กฎเกณฑ์ ผลจากการพิจารณาคดี และ/หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้