ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาส (จีดีพี) 1/2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นดีที่สุดในรอบ 20 ไตรมาส  ปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาคเอกชนและภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น การลงทุนรวมเพิ่ม 3.4% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4% การส่งออกขยายตัว 9.9% รายได้จากากรท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 16.8%

นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าว ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2561 และแนวโน้มปี 2561 เมื่อวันที่  21 พฤษภาคม 2561 มีข้อมูลที่สำคัญดังนี้

จีดีพี ไตรมาสแรกปี 61 บวก 4.8%

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสแรกของปี 2561 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2560 ร้อยละ 2.0 (QoQ_SA)

ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุนรวม และการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการส่งออกสินค้าและบริการ ในด้านการผลิต การผลิตสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมขยายตัวเร่งขึ้น สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการขนส่งและการคมนาคมขยายตัวดีต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัว

เศรษฐกิจปี 2561โต 4.2-4.7 %

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 – 4.7 โดยมีแรงสนับสนุน ที่สำคัญ ประกอบด้วย

(1) การขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจโลกและการปรับตัวดีขึ้นของระดับราคาสินค้าในตลาดโลกซึ่งจะสนับสนุนให้การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง

(2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐ ยังคงมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ดี

(3) การฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน และ

(4) การปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่า การส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 8.9 การบริโภคภาคเอกชน และการสะสมทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.7 และร้อยละ 4.7 ตามลาดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 8.4 ของ GDP

การบริหารเศรษฐกิจที่ต้องไม่พลาด

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2561 ควรให้ความสำคัญกับ

(1) การสนับสนุนการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจสำคัญๆ โดยเฉพาะ

(i) การดูแลการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพและต่อเนื่อง

(ii) การสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ทั้งในด้านการอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนให้มีการลงทุนจริงโดยเร็ว การชักจูงนักลงทุนในสาขาและพื้นที่เป้าหมาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆ และการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน และ

(iii) การสนับสนุนการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ทั้งในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การส่งเสริมการขายในตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกล รวมทั้งการลดความแออัดของนักท่องเที่ยวในสนามบินและพื้นที่ท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการปรับปรุงระบบการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวรองเพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้ลงสู่เมืองรองและชุมชนให้มากขึ้น

(2) การขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐให้สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดย

(i) การดาเนินการเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างและเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงที่เหลือของปี เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจาปี และกรอบงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 66.7 และร้อยละ 77.0 ตามลาดับ

(ii) การขับเคลื่อนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญๆ และ

(iii) การจัดทาแผนและขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจในระดับภาคและจังหวัดสำคัญๆ

(3) การดูแลเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย และการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs และเศรษฐกิจฐานราก ทั้งในด้าน

(i) การผลิตสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยให้ความสำคัญกับสินค้าที่ราคายังฟื้นตัวอย่างล่าช้า การเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตภาคเกษตรที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังและเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการส่งเสริมการทาเกษตรแปลงใหญ่

(ii) การดูแล ผู้มีรายได้น้อย เศรษฐกิจฐานราก และ SMEs โดยให้ความสำคัญกับการดาเนินการตามโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมทั้งการดูแลมาตรการสินเชื่อให้มีวงเงินที่เพียงพอ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันและอัตราดอกเบี้ย และ

(iii) การให้ความช่วยเหลือและพัฒนา SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดาเนินธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค โครงสร้างประชากร และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท และ (4) การเตรียมความพร้อมด้านกาลังแรงงานและคุณภาพแรงงานให้มีเพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของภาคการผลิตและการลงทุน

#