นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า สืบเนื่องจากวันที่ 18 พฤศจิกายนของทุกปีถือเป็นวันสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ได้เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปี      พ.ศ. 2540 และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542   ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา จึงถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาครบรอบการก่อตั้งสำนักงาน ป.ป.ช. โอกาสนี้สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดจัดงานวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 19 ปีขึ้น   ในวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ สำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัดนนทบุรี เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งภายนอกและภายในองค์กร รวมทั้งประชาชน เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาการทุจริตและการเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตกับสำนักงาน ป.ป.ช.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช. มีความมุ่งมั่นในการปราบปรามการทุจริตควบคู่ไปกับการปลูกจิตสำนึกในด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่คนในประเทศชาติ เพื่อสร้างกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต และเป็นการประชาสัมพันธ์งาน อาทิ

 

 

1. ผลงานด้านการปราบปรามการทุจริต

 

 

คณะกรรมการ ป... มีอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนข้อเท็จจริงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งผลการดำเนินงานด้านปราบปรามการทุจริตในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ดังนี้

 

 

-2-

 

 

สถิติผลการดำเนินงานด้านปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2561

 

ปี

รับใหม่

แล้วเสร็จ

2558

3,050

2,124

2559

5,382

2,410

2560

4,896

3,458

2561

4,622

3,642

 

 

 

โดยมีผลงานชี้มูลอาญา/วินัย/เป็นเหตุให้ถูกถอดถอนแล้วแต่กรณีที่น่าสนใจ ดังนี้

 

1. กรณีกล่าวหา นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายพนม ศรศิลป์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นางสาวประนอม คงพิกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ว่าทุจริตเกี่ยวกับเงินงบประมาณอุดหนุนวัด และเรียกรับเงิน (เงินทอนวัด)

                   1.1 วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                   1.2 วัดชลธาราวาส จังหวัดนราธิวาส

                   1.3 วัดยูปาราม จังหวัดยะลา

                   1.4 วัดสุริยาราม จังหวัดสงขลา

                   1.5 วัดวัฒนาราม จังหวัดลำปาง

                   1.6 วัดอุมลอง จังหวัดลำปาง

-3-

 

                   1.7 วัดบ้านอ้อ จังหวัดลำปาง

                   1.8 วัดทุ่งต๋ำ จังหวัดลำปาง

                   1.9 วัดหาดปู่ด้าย จังหวัดลำปาง

                   1.10 วัดศรีบุญนำ จังหวัดแพร่

                   1.11 วัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวดลำพูน

 

2. กรณีกล่าวหา นายวัลลภ พุกกะณสุต อดีตกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าทุจริตในการนำกระเป๋าสัมภาระที่มีน้ำหนักเกินกว่าสิทธิขึ้นเครื่องบิน ณ สนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น และรับเนื้อโกเบและผลไม้จากบริษัทเอกชนมีมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท

 

3. กรณีกล่าวหา เรืออากาศเอก ชรินทร์ ทองเปี่ยม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง วิษวกรโยธา บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และนางสาวพรชนันท์ (ศิริพร) วิสิทธิสมบูรณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท คันทรี คอมฟอร์ด จำกัด ทุจริตโครงการก่อสร้างอาคารสถานีเรดาร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

 

4. กรณีกล่าวหา ร.ต. สุรศักดิ์ วงศาโรจน์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก กับพวก จัดซื้อเครื่องตรวจค้นยาเสพติดอัลฟ่า 6 ของจังหวัดพิษณุโลก โดยดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่มีอำนาจ และการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง

 

5. กรณีกล่าวหา นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวก ทุจริตโครงการค่าใช้จ่ายในการประดับตกแต่งไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (Motif of Light) จำนวนเงิน 39,500,000 บาท โดยมิชอบ

 

6. กรณีกล่าวหาทุจริตและเรียกรับเงินในการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบล 31 แห่ง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2558 นายสมบูรณ์ นาเพีย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก นายสุรัชฐ์ จันทะรัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช และนายสวัสดิ์ คำมาตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุม กับพวก

 

7. กรณีกล่าวหา นายพรชัย  โควสุรัตน์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ทุจริตกำหนดเงื่อนไขคุณลักษณะรถยนต์ในโครงการเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
19 คัน และทำสัญญาเช่าโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือโดยทุจริต ความผิดก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามห้วยแจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี, การจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนจาก สกสค.

 

8. กรณีกล่าวหา นายวรวิทย์  บูรณศิริ  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา กับพวก ทุจริตในการจัดซื้อท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก 129 ท่อน

 

9. กรณีกล่าวหา นายนวพล  บุญญามณี  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กับพวก สมยอมกันในการเสนอราคาโครงการจัดซื้อพันธุ์สัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม) 40 ล้านตัว เป็นเงิน 10 ล้านบาท

 

10. กรณีกล่าวหา นายมนตรี เพชรขุ้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการก่อสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ก่อนที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะอนุมัติงบประมาณ 

 

-4-

 

11. กรณีกล่าวหา นายอุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ใช้อำนาจสั่งการให้มีการออกแบบปรับปรุงต่อเติมอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
โดยมิชอบ

 

 

 

 

2. ผลงานด้านการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน

 

 

          สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และรวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

             โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ได้ดำเนินงานด้านการตรวจสอบบัญชีเสร็จ จำนวน 8,941 บัญชี ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 แยกเป็น

 

ตรวจสอบปกติ

ตรวจสอบยืนยันข้อมูล

ตรวจสอบเชิงลึก

8,555

279

107

 

เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ปช. มีมติให้ส่งเรื่องไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนี้

 

ร่ำรวยผิดปกติ

จำนวนเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ (เรื่อง)

จำนวนเรื่องที่ศาลมีคำวินิจฉัย (เรื่อง)

จำนวน

จงใจไม่ยื่นบัญชี

จงใจยื่นเท็จ/ปกปิบัญชี

จงใจไม่ยื่บัญชี

จงใจยื่นเท็จ/ปกปิดบัญชี

3 ราย

175

134

120

18

3

309

138

 

             โดยมีผลงานที่น่าสนใจ ดังนี้

             1. มีมติชี้มูลความผิดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปกติ จำนวน 3 ราย เพื่อขอให้ศาลริบทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน 1,047,945,343.15 บาท ได้แก่

                    1.1  นายสมบัติ อุทัยสาง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน 108,574,356.23 บาท

                    1.2  พันตรี วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน 896,554,760.28 บาท

                    1.3 นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ทรัพย์
ตกเป็นของแผ่นดิน
42,816,226.64 บาท

               2. คดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยแล้วหรืออยู่ระหว่างพิจารณา(กรณีจงใจไม่ยื่นบัญชี / จงใจยื่นเท็จ/ปกปิดบัญชี) ที่สำคัญ มีดังนี้

 

-5-

 

                   2.1 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม ศาลพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา 5 ปี จำคุก 10 เดือน

                   2.2 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ศาลพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา 5 ปี จำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ 2 ปี

                   2.3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์  ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศาลพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จำคุก 1 เดือน

                   2.4 พลตำรวจโท หรือนายพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง     ศาลพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา 5 ปี จำคุก 1 เดือน

2.5 นายกองโทสุวิทย์ หรือสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ตำแหน่งที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ศาลพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

                   2.6 นายไพรัช ชัยชาญ ตำแหน่ง ตำแหน่งกรรมการองค์การสวนสัตว์ ศาลพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา 5 ปี จำคุก 2 เดือน ปรับ 8,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ 2 ปี

                   2.7 พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จงใจไม่ยื่นบัญชีฯ และจงใจยื่นบัญชีฯ เท็จ โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย

                   2.8 พล.ต.ต.ถิร์สทัต บูรณะรัช ตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตราด จงใจไม่ยื่นบัญชีฯ
โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย

                   2.9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุมพล พูลภัทรชีวิน ตำแหน่งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย จงใจไม่ยื่นบัญชีฯ โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย

 

         

3. การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) และผลงานด้านป้องกันการทุจริต ตอบสนองการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติฯ

 

 

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริต และมุ่งเน้นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) และเชื่อมั่นว่าความสำเร็จของการป้องกันการทุจริต อยู่ที่ความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วนที่ร่วมกันสร้าง สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตผลงานที่สำคัญ ดังนี้

 

3.1 หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) 5 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต) 2.หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด “Youngster with good heart”) 3.หลักสูตรตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ 4.หลักสูตรสร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต 5. หลักสูตรโค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยมีเป้าหมายให้สถานศึกษาทุกแห่งนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน
การสอนเพื่อปลูกฝัง สร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้แก่นักเรียน การเน้นปลูกฝังคนในชาติคิดแยกแยะผลประโยชน์ตนส่วนตนและผลประโยชน์ของส่วนรวม มีจิตพอเพียงต้านทุจริต ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ

-6-

 

3.2 โครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต โดยมีการนำร่องใน 27 จังหวัด โครงการนี้ คาดหวังให้ชุมชนเกิดจิตพอเพียงต้านทุจริต โดยร่วมกันมุ่งพัฒนาชุมชนด้วยการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   เข้ากับความโปร่งใส การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ตระหนักรู้และใฝ่รู้ปัญหาการทุจริต รวมทั้งร่วมกันพัฒนาชุมชนให้มีความเอื้ออาทรบนพื้นฐานของจริยธรรมและจิตพอเพียง อีกทั้งเกิดการป้องปราม  การทุจริตในชุมชน ส่งผลให้การทุจริตเกิดได้ยากมากขึ้น ตลอดจนเกิดเครือข่ายชุมชนจิตพอเพียงต้านทุจริต และเป็นแกนนำสร้างวัฒนธรรมไม่ทนต่อการทุจริตต่อไป สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จะดำเนินการ 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร

 

         3.3 โครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต  ด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตเพื่อดำเนินโครงการ/แผนงาน/มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบการป้องกันการทุจริต ป้องกันพฤติกรรมที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สร้างกลไกในการตรวจสอบการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการท้องถิ่นเกิดความโปร่งใส ประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินงานตามเจตจำนงในการต่อต้านการทุจริตที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้แสดงไว้ต่อสาธารณชน โดยสามารถเข้าไปดูในเว็บไซด์ของ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ว่า อปท. แห่งใดมีแผนแล้ว และแผนนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

 

3.4 โครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรอิสระ และรัฐสภาในการยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต  เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรอิสระ และรัฐสภา ในการยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรอิสระ และรัฐสภาในการยกระดับเจตจำนงทางการเมือง ในการต่อต้านการทุจริต และให้พรรคการเมืองและนักการเมืองแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งเป็นการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนและกลไกการถ่วงดุลอำนาจ ที่จะช่วยให้เจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของประชาชนได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม และเกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

 

3.5 โครงการส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ มีมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม เสริมสร้างกลไกและกระบวนงานป้องกันการทุจริตในเชิงรุก กำหนดแนวทางการกำกับติดตามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกระดับ รวมทั้งบูรณาการในการทำงานร่วมกันกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรมจริยธรรมจึงดำเนินการส่งเสริมมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วยการประชุมกำหนดแนวทางในการส่งเสริมมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการจัดทำมาตรวัดระดับคุณธรรมจริยธรรม

 

3.6 โครงการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวมจิตพอเพียง      ความอาย และไม่ทนต่อการทุจริต ..มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตด้วยการปรับฐานความคิดในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมได้       โดยการสร้างวิทยากร เพื่อทำหน้าที่ส่งต่อวิธีคิดและความรู้ให้กับทุกคนในสังคมทำให้เกิดเป็นค่านิยมที่จะไม่ยอมรับการทุจริต เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมในการสร้าง "สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" โดยมีกลุ่มเป้าหมาย

 

-7-

 

เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ครูระดับปฐมวัย ครูระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

3.7 การจัดทำเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ชี้วัดนโยบายสาธารณะว่าประเด็นใดบ้างที่เป็นช่องว่างหรือช่องทางที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้ และผลประเมินจากเกณฑ์ชี้วัดนี้ จะช่วยให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลจากรอบด้าน ก่อนการตัดสินใจ ว่าจะสนับสนุนนโยบายสาธารณะใด และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม และตรวจสอบการดำเนินนโยบายสาธารณะ เพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินการของรัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน

3.8 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA)  โดยเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานเข้าร่วมรับการประเมินฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2560 ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ ต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด ดังนี้  1) โครงการกำกับ ติดตาม และพัฒนามาตรฐานเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 2) โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ Coach ITA 3) โครงการพัฒนามาตรวัดคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน

3.9 การจัดทำมาตรการ/ข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑

1. ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ระยะที่ 2

2. มาตรการป้องกันการทุจริตเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ

3. มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียน
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. มาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ

5. มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ

6. มาตรการป้องกันการทุจริต กรณีการค้าระหว่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐจากโครงการรับจำนำข้าวและ

การระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ

 

 

4. ผลงานด้านการต่างประเทศ

 

 

4.1    ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนและเผยแพร่มาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการ

ป้องกันการให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของรัฐฯ ตามมาตรา 176 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

           ในยุคปัจจุบันที่การค้าการลงทุนขยายตัวอย่างไร้พรมแดน การแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้นทำให้อาจมีการให้สินบนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้นานาชาติต่างให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายและมาตรการที่เข้มงวดในการต่อต้านการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ โดยมี

-8-

เครื่องมือระหว่างประเทศที่สำคัญได้แก่ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. ๒๐๐๓ (UNCAC) และอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Anti-Bribery Convention) ทั้งนี้ มาตรการหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวทางการป้องกันสินบนที่มีประสิทธิภาพได้แก่ การกำกับดูแลภาคเอกชนที่มีโอกาสเป็นผู้ให้สินบนด้วยการส่งเสริมให้นิติบุคคลมีมาตรการควบคุมภายใน เพื่อป้องกันมิให้มีการให้สินบนเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ

          คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการให้สินบน และการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนประกอบธุรกิจอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล โดยได้ดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกคู่มือป้องกันสินบนสำหรับนิติบุคคล ตามมาตรา 176 การออกประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมาย การจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิติบุคคล รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้แก่ภาคธุรกิจเอกชนทั้งส่วนกลางและภูมิภาค  ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเดินทางประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ภาค 5 คือจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ภาค 2 คือเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนิติบุคคล เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการป้องกันสินบนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศไทยและระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติให้ทันสมัย สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยหวังว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการป้องกันสินบนของประเทศไทยและต่างประเทศ และมีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน

4.2   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.. 2561 ในประเด็น

การอนุวัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.. 2003 (United Nations Convention against Corruption : UNCAC)

เนื่องด้วยคณะกรรมการ ป... ในฐานะองค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ให้ความสำคัญ เป็นอย่างมากกับการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางในการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศซึ่งเป็นคดีที่มีความสำคัญ มีมูลค่าความเสียหายมาก และมีลักษณะการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อน
จึงมีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เป็นการอนุวัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต
.. 2003 (United Nations Convention against Corruption : UNCAC) จนมาเป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.. 2561 ในประเด็นสำคัญ อาทิ

·       มาตรา 7         อายุความสะดุดหยุดอยู่ในกรณีที่มีการหลบหนี (ข้อบทที่ 29)

·       มาตรา 83        การริบทรัพย์สิน/ประโยชน์/ทรัพย์ที่แปลงสภาพ (ข้อบทที่ 31)

·       มาตรา 84        การริบทรัพย์ตามมูลค่า (ข้อบทที่ 31)

·       มาตรา 140      การดำเนินการตามคำร้องขอความร่วมมือระหว่างประเทศ (ข้อบทที่ 43, 46, 48)

·       มาตรา 177      ฐานความผิดขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (ข้อบทที่ 25)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-9-

 

 

“ในโอกาสครบรอบ 19 ของ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ช. และบุคลากรทุกระดับพร้อมเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันภายใต้ค่านิยม “ซื่อสัตย์ เป็นธรรม มืออาชีพ” ทุกคนจะต้องทำงานหนักขึ้น การทำงานจะต้องโปร่งใส สุจริต และยินยอมให้มีการตรวจสอบได้ ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.      ทุกคน และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย การพิจารณาวินิจฉัยทุกอย่างต้องมีพยาน หลักฐาน ดำเนินการรวดเร็ว เป็นมืออาชีพ มีประสิทธิภาพ อย่างที่พี่น้องประชาชนมุ่งหวัง เพื่อขจัดการทุจริตให้หมดไปจากสังคมไทย สำหรับประชาชนทุกท่านโปรดพึงระลึกเสมอว่า ท่านคือคนสำคัญที่จะทำให้ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติ       ต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand)” หากพบเห็นการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง      หรือเจ้าหน้าที่รัฐ แจ้งสายด่วน ป.ป.ช. 1205 หรือร้องเรียนผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th     หรือสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด”