ขนส่งมวลชนระบบราง-กายภาพเมืองใหม่ ภูมิศาสตร์ประชากรใหม่

มหานครจำเป็นต้องมีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้เพียงพอ เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของคนจำนวนมากในมหานครนั้น  ผลดีที่ควรเกิดขึ้นคือมีทางเลือกประหยัดเวลา-ตรงเวลาในการเดินทาง  มีทางเลือกในการลดมลภาวะจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว   มีทางเลือกความสัมพันธ์ทางกายภาพที่ดีระหว่างที่อยู่อาศัย-ที่ทำงาน-แหล่งจับจ่ายใช้สอยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

ข้อดีของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนนั้นเป็นที่เห็นชัดเจน แม้ในปัจจุบัน (2561) มีรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วใน กทม,ปริมณฑลเพียงไม่กี่สาย ประกอบด้วย สายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า  สายสีเขียว หมอชิต-สำโรง   รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินบางซื่อ-หัวลำโพง และสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน (เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซ่อน)  โครงการคอนโดมิเนียมใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้ว  รวมถึงการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของความเปลี่ยนแปลงนี้

ในวันข้างหน้ากรุงเทพมหานครย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงอีกมาก ตามสถานะของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีความคืบหน้ามาขึ้นเรื่อยๆ

มองภาพใกล้ปี 2561

หน่วยงานสำคัญในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนคือ  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)  มีข้อมูลแผนงานของรฟม.ที่น่าสนใจดังนี้ (ข้อมูลต้นปี 2561)

โครงการที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วง ท่าพระ – เตาปูน  (เสร็จแล้วเป็นรถไฟฟ้าแบบวงแหวน บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-เตาปูน-บางซื่อ) มีความคืบหน้าร้อยละ 97.52

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต มีความคืบหน้าร้อยละ 53.31

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความคืบหน้าร้อยละ 4.66

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี อยู่ระหว่างเตรียมการรื้อย้ายสาธารณูปโภคใต้ดินตามแนวเส้นทางส่วนงานก่อสร้างกำหนดเริ่มต้นในปี 2562

และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง อยู่ระหว่างเตรียมการรื้อย้ายสาธารณูปโภคใต้ดินตามแนวเส้นทางวางแผนปี 2562 เริ่มก่อสร้าง

โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างเตรียมการประกวดราคา 1 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)โครงการนี้ใช้งบก่อสร้างประมาณ 80,000 ล้านบาท

โครงการรถไฟฟ้าที่กำหนดดำเนินการในปี 2561 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4  โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต – ลำลูกกา และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ – บางปู

คอนโดมิเนียมใหม่กับรถไฟฟ้าสายใหม่(และส่วนต่อขยาย)

การเดินทางจากที่อยู่อาศัยไปสู่ที่ทำงานจากนั้นเชื่อมโยงไปยังแหล่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นปัจจัยและข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย   ทางด้านผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็มีหลักพิจารณาเช่นเดียวกับผู้บริโภค

ตัวอย่างข้อมูลคอนโดมิเนียมที่ลงทุนและกำหนดสร้างเสร็จให้สอดคล้อง และล้อกันไปกับโครงการรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง – บางแค (หลักสอง)  กำหนดเปิดบริการเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 และช่วงเตาปูน - ท่าพระ เปิดให้บริการในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563

ภาพรวมคือ จากบางแคสามารถเดินทางเข้ามาถึงหัวลำโพงได้อย่างรวดเร็ว (จากนั้นใช้บริการรถไฟฟ้าสีน้ำเงินหัวลดฑง-บางซื่อที่มีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวตรงสถานีบางหว้า  สถานีสีลม สถานีสุขุมวิทและสถานีพหลโยธิน)

จากบางแคเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีท่าพระผ่านไปตามแนวถนนจรัลสนิทวงศ์ไปถึงบางซื่อได้

ประชากรด้านแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ฝั่งธนบุรี) มีความสะดวกมีทางเลือกในการเดินทางเข้ามาย่านธุรกิจฝั่งกรุงเทพฯได้มากขึ้น

พักผ่อนอยู่อาศัยฝั่งธนบุรีที่สภาพแวดล้อมยังค่อนข้างดี  นั่งรถไฟฟ้ามาทำงานฝั่งกรุงเทพฯ  ทั้งนี้นอกเหนือจากโครงการคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จเปิดขายอยู่แล้วยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น  โครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า MRT  เพชรเกษม  และกำหนดแล้วเสร็จปี 2563 ได้แก่  โครงการคอนโดมิเนียม ศุภาลัย เวอเรนด้า,  เดอะ เบส เพชรเกษม, The Parkland เพชรเกษม 

และยังมีคอนโดมิเนียมใกล้สถานีท่าพระ โครงการเดอะ ไพรเวซี่ ท่าพระ อินเตอร์เชนจ์ กำหนดแล้วเสร็จปี 2563

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต   โฟกัสจากห้าแยกลาดพร้าวไปสี่แยกเกษตรมีคอนโดมิเนียมโครงการใหม่หลายโครงการเช่น ใกล้สถานีลาดพร้าวมีสองโครงการ ได้แก่ โครงการ  Savvi Phahol-Ladprao  เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์  และโครงการ Life Ladprao 

ใกล้สถานีพหลโยธิน 24 มีสามโครงการได้แก่ โครงการ Poly Place   โครงการ Lyss Ratchayothin โครงการ Knightsbridge Prime Ratchayothin Interchange

ใกล้สถานีรัชโยธิน  โครงการ New Condo By Sc Asset,   โครงการ New Condo By LPN

ใกล้สถานีเสนานิคม  โครงการ Premeo Condominium โครงการ  The Ville Express  โครงการ Maxxi Ratchayothin-Phahol

ใกล้สถานีแยกเกษตรฯ โครงการ The Selected Kaset-Ngamwongwan  โครงการ  Miti Condo

ภายภาพเมืองเปลี่ยน ภูมิศาสตร์ประชากรเปลี่ยน

ไม่เพียงดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงระดับรื้อสร้าง (Disruption) ธุรกิจและวิถีชีวิต  โครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนก็มีผลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภายภาพเมือง และภูมิศาสตร์ประชากร  ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องยังมีอีกมากมายที่ต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ และสามารถปรับทุกสิ่งอย่างให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง “เป็นฝ่ายกระทำต่อสถานการณ์”

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นตัวอย่างรูปธรรมที่ “ระบบรางสร้างไทยใหม่”  ผลสะเทือนนั้นไม่จำกัดวงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง  ความเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์เมือง   มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงระดับ Disruption ทางธุรกิจเท่านั้น   แม้แต่การเมือง-การปกครอง สังคม-วัฒนธรรมก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงนี้ได้

ความเปลี่ยนแปลงอีกมากมายย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  การก่อสร้างต่างๆ สามารถมองเห็นได้  ส่วนงานสร้างคนให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงนั้น  แต่ละครอบครัวควรเพิ่มความเอาใจใส่รับผิดชอบบุตรหลานของตนเองเป็นอันดับแรก ไม่ควรรอความหวังจากภาครัฐ

อีกทั้งต้องตระหนักว่าทุกความเปลี่ยนแปลงมีต้นทุนเสมอ  ทุกความเปลี่ยนแปลงสร้างโอกาสและปัญหาให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน  ขึ้นอยู่กับว่า  ความสามารถในการช่วงขิงโอกาส หรือว่าตกอยู่ในวังวนแห่งปัญหา

“ระบบรางสร้างไทยใหม่”  เริ่มต้นอย่างมีพลัง และย่อมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง   ประการนี้ย่อมเกิดผลดีต่อเนื่องกับกิจการรับเหมาก่อสร้างทุกขนาด ทุกพื้นที่

#