ทบทวนปัญหาในงานก่อสร้าง – เสาเข็มและฐานราก (2)

การทบทวนปัญหาในงานก่อสร้าง สามารถเริ่มต้นตั้งแต่ฐานรากขึ้นไป งานก่อสร้างต้องสนใจเสาเข็มและฐานราก เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงของอาคาร ทั้งการรับน้ำหนักโครงสร้างอาคารและน้ำหนักจรจากการใช้งาน

ขุดฐานรากเจอดินอ่อน

เมื่อตอกเสาเข็มแล้วงานต่อเนื่องคือ ขุดดินทำฐานราก บางครั้งอาจเจอดินอ่อนตัว มีการลื่นไหล ดินสไลด์เกิดขึ้น  พื้นที่เสี่ยงต่อปัญหานี้เช่นบริเวณชายฝั่งแม่น้ำ  ชายหาด หรือภูมิประเทศที่เป็นดินทราย  ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ดังนี้

กรณีต้องขุดดินฐานรากลึก ให้ ทำกำแพงกันดินถล่ม  ดินไหล ต่อมาควรพิจารณาเปิดหน้าดินให้กว้างและทำความลาดเอียงให้มาก  สุดท้ายควรใช้แผ่นดินหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมและสามารถนำมาตอกกันดินโดยรอบเพื่อป้องกันดินพัง

การป้องกันหากเลือกได้ควรพิจารณาทำงานตอกเสาเข็มฐานรากในภูมิประเทศที่ดินอ่อน  ดินปนทรายในฤดูแล้งที่ไม่มีฝนและความชุ่มชื้นในดินมีน้อย

ฝนตกตอนเทคอนกรีตฐานราก

งานก่อสร้างแม้ว่าพยายามหลีกเลี่ยงฝนตก แต่อาจเจอปัญหาว่าในช่วงเวลาที่เทคอนกรีตพลันเกิดฝนตกหนักและยาวนาน และยังมีคอนกรีตเหลือเทอยู่อีกมาก  ในกรณีเช่นนี้ควรดำเนินการต่อไปนี้

หนึ่ง ทำหลังคาชั่วคราวให้หลุมที่เทคอนกรีต เช่น นำผ้าใบมาทำหลังคา ป้องกันหน้าคอนกรีตเสียหาย

สอง กรณีไม่สามารถทำหลังคาได้ จำต้องปลายให้ฝนชะล้างผิวหน้าคอนกรีต  หลังจากนั้นต้องสกัดผิวหน้าคอนกรีตแลใส่ตะแกรงเหล็กเสริม แล้วเทคอนกรีตทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง

สามคลุมเนื้องานคอนกรีตที่เทไปแล้วด้วยผ้าใบ ในส่วนรอยต่อระหว่างพื้นที่ที่เทคอนกรีตแล้วกับการเทใหม่ต้องเสริมเหล็กเพิ่มความเหนียวของงานคอนกรีตเสริมเหล็

สี่หากเทคอนกรีตแล้ว  ค้ำยันของแบบฐานรากไม้แข็งแรง แบบอาจแตก  ต้องหยุดเทคอนกรีตทันทีแล้วเพิ่มการค้ำบันให้เพียงพอ  อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบค้ำยันก่อนเทคอนกรีตเสมอ

ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตพยากรณ์อากาศที่จัดแบ่งพื้นที่ละเอียดมากขึ้นในระดับเขต และอำเภอ  ควรใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญฝนตก  หากมีความจำเป็นสามารถสั่งคอนกรีตเป็นช่วง ๆ เพื่อมีปัญหาสามารถหยุดเทได้ทันที

ปัญหาของเข็มเจาะ

เข็มเจาะช่วยลดผลกระทบทั้งแรงสั่นสะเทือน เสียงและฝุ่นต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงอันเป็นจุดเด่นกว่าเข็มตอก  อย่างไรก็ตามเข็มเจาะก็มีปัญหาเฉพาะที่ต้องแก้ไข ป้องกัน

หนึ่ง ปัญหาในขั้นตอนการเทคอนกรีตหล่อเข็มเจาะเปีย แล้วเกิดเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถเทต่อให้เสร็จได้  การแก้ไขให้หา Plant สำรองเพื่อนำคอนกรีตมาเทต่อ  กรณีพื้นที่ไม่กว้างเกินไป หยุดเทแล้วหาวัสดุมาปิดคลุมพื้นที่นั้น  และต้องตรวจเช็คถ้าไม่เกินค่าที่ยอมให้ก็ใช้ได้  สุดท้ายอาจตอกเข็มแซม   การป้องกัน เช่น  การขุดดินฐานรากลึกให้ทำกำแพงกันดิน   ควรเปิดหน้าดินให้กว้างเพื่อให้มีองศาลาดเอียงที่เหมาะสม  หรือใช้แผ่นเหล็ก/วัสดุอื่นที่สามารถนำมาตอกโดยรอบเพื่อป้องกันดินพัง

สอง หลังจากหล่อเข็มเจาะเปียกแล้วตรวจพบว่าเข็มไม่มีความสมบูรณ์พอ เช่น กำลังต่ำ เป็นโพรง  ต้องแก้ไขอย่างเคร่งครัด  ดังนี้ เมื่อเกิดโพรงใกล้ผิวดินให้ตัดเข็มในช่วงนั้นๆ ทิ้ง แล้ว cap หัวเข็ม   กรณีที่อยู่ลึกตรวจวิเคราะห์ให้ดีอาจต้องเจาะเข็มเสริมจากนั้นขยายฐานราก  อนึ่งหากพิจารณาแล้วมีความเสี่ยงควรป้องกันล่วงหน้า เช่น  ตรวจสอบคอนกรีต ให้ได้slump ที่พอ เหมาะ  และให้ควบคุมงานเข็ม อย่างระมัดระวัง

ปัญหาเกิดเมื่อเทคอนกรีตฐานราก

เมื่อตอกเสาเข็ม หรือทำเสาเข็มเจาะเรียบร้อยแล้วงานขั้นต่อไปหรือเทคอนกรีตฐานราก ซึ่งบางครั้งอาจเจอปัญหาที่ต้องแก้ไข

หนึ่ง เมื่อขุดเข็มเพื่อทำฐานราก บริเวณ Pile cut off ของเข็มไม่ผ่านการทดสอบหรือมีรอยแตก ให้สำรวจโดยละเอียดถ้าเข็มส่วนที่ไม่สมบูรณ์ไม่ลึกให้ลดระดับ pile cut off ลงแล้ว เทฐานรากให้หนาขึ้น  ในกรณีนี้สามารถป้องกันด้วยการควบคุมการตัดเสาเข็มให้ตรงตามแบบ  และต้องตรวจสอบคุณภาพเข็มทุกต้น

สอง ปัญหาดินที่ก้นหลุมของฐานรากมีลักษณะอ่อนตัวเป็นดินเหลว เป็นโคลน กรณีนี้ให้แก้ไขด้วยการขุดดินอ่อนออกจนหมด แล้วใช้ทรายถมจนได้ระดับ  ถ้าดินไม่เหลวมากใช้วิธีเทคอนกรีตหยาบเพื่อรองรับเหล็กที่ทำโครงสร้างฐานราก  หรือปรึกษาวิศวกรเพื่อออกแบบฐานรากให้สูงขึ้น

สาม บ่อยครั้งที่งานฐานรากที่ก่อสร้างบนดินเหนียวเป็นเลน มีปัญหาเรื่องการค้ำยันและแบบเทคอนกรีตแตก ให้แก้ไขด้วยการเทคอนกรีตหยาบรองพื้น ก่อนทำการค้ำยันแบบ รวมทั้งต้องตอกค้ำยันให้แน่น  ปัญหานี้พอป้องกันได้ด้วยการเททรายรองพื้น และใช้คอนกรีตหยาบเป็นตัวรองค้ำยัน

สี่ พบฐานรากเก่าตรงกับตำแหน่งฐานรากใหม่ การแก้ไขต้องออกแบบการตั้งเสาใหม่โดยเสริมเข็มเพิ่ม 2 ต้นระหว่างฐานรากเก่า แล้ว ทำคานวางพาด ใช้เข็มต้นใหม่ว่างเหนือต้นเก่า  ที่จริงแล้วปัญหานี้ไม่ควรเกิดผู้เออกแบบควรศึกษาถึงความเป็นมาของพื้นที่นั้น ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนการออกแบบ

(ยังมีต่อ)

ช่างสยาม