ความพยายามภาครัฐต่อสู้การทุ่มตลาด

ผลกระทบจากการทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างคือ การทุ่มตลาดเหล็ก ที่เห็นชัดเจนคือ การทุ่มตลาดเหล็กจากจีน  เช่น  เหล็กลวด  เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี  เหล็กแผ่นรีดร้อน  เหล็กแผ่นรีดร้อนแผ่นหนา  ท่อเชื่อมตะเข็บ   และเหล็กเส้น  เป็นต้น  ปัญหาเหล็กจีนมีการร้องเรียนภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ปี 2558 ทั้งนี้มาจากปัจจัยภายในของจีนที่มีกำลังการผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ รวม 1.10 พันล้านตันต่อปี  แม้ว่าใช้กำลังการผลิตที่ 800.52 ล้านตันต่อปี  แต่ความต้องการภายในประเทลดลงเหลือ 748.96 ตันต่อไป  เหล็กส่วนเกิน 51.56  ล้านตันต่อปีจึงระบายออกนอกประเทศจีน  (สรุปจากการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของ ดร.ทรงวุฒิ  ไกรภัสสร์พงษ์ รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย –ISIT)  ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาของภาครัฐมีเป็นระยะ ๆ และมีช่วงเวลาจำกัด   ส่วนการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ต้องรวดเร็ว

ร่างพ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ

ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการต่อต้านสินค้าทุ่มตลาดจากต่างประเทศ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่  9  สิงหาคม  2559  เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ  (ฉบับที่ ..)พ.ศ. ..................... ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

2. รับทราบแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ พณ. เร่งดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็ว

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดให้มีบทนิยาม คำว่า “สินค้าที่ถูกไต่สวน” “สินค้าที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้” และ “มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน”

2. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม คำว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ให้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้เสียในการไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน

3. แก้ไขตำแหน่งขององค์ประกอบคณะกรรมการ ทตอ. ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับชื่อหน่วยงานในปัจจุบัน

4. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ทตอ. ให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด การอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลอดหรือการอุดหนุน

5. แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระของคณะกรรมการ ทตอ. โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

6. แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องกรรมการพ้นจากตำแหน่งไม่ตามวาระของคณะกรรมการ ทตอ. โดยในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

7. กำหนดให้มีบทบัญญัติในเรื่องมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน เป็นหมวดใหม่

ขยายความรัฐบาลที่มีค่อนข้างเบ็ดเสร็จ (กรณีของรัฐบาลชุดปัจจุบันคือ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ –ซึ่งตำแหน่งหัวหน้าคสช. เป็นผู้แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ดังนั้นขั้นตอนตามกระบวนการออกกฎหมายที่ต้องผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงควรรวดเร็วแบบตั้งความหกวังได้

#

บัญชีสยาม