ยุงค์ไฮน์ริช จัดแข่งรถฟอร์คลิฟท์ ครั้งแรกของประเทศไทย

บริษัท ยุงค์ไฮน์ริช ลิฟท์ ทรัค จำกัด ผู้ให้บริการด้านระบบอินทราโลจิสติกส์แบบครบวงจรชั้นนำจากเยอรมนี จัดการแข่งขันขับรถฟอร์คลิฟท์ยุงค์ไฮน์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย “ Jungheinrich Driving Challenge เป็นครั้งแรกของวงการรถยกอุตสาหกรรมในเมืองไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทักษะ การขับรถยกอย่างปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้า โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่ห์รางวัลชนะเลิศ และประกาศนียบัตร นอกจากนี้ยังจัดสัมมนาในหัวข้อ “ Disruptive Technology Impact towards Industry and Intralogistics : ผลกระทบจากเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกต่ออุตสาหกรรมและการจัดการอินทราโลจิสติกส์ ” บรรยายโดย อาจารย์สิริวัฒน์ ไวยนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม จากสถาบันไทย-เยอรมัน และปาฐกถาพิเศษโดย คุณเจน นำชัยศิริ วุฒิสมาชิกและประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายสเตฟาน เบรม รองประธานกรรมการภาคพื้นเอเชียแปซิก บริษัท ยุงค์ไฮน์ริช กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานแข่งขันและงานสัมมนาในครั้งนี้ว่า ทางบริษัทต้องการที่จะมีส่วนสนับสนุนลูกค้าให้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานรถยก เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเคลื่อนย้ายสินค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงาน นอกจากนี้เรายังมีงานสัมมนาในหัวข้อ “Disruptive Technology Impact towards Industry and Intralogistics” จากผู้เชี่ยวชาญที่เราเชิญมาในงานนี้ จะทำให้ลูกค้าของเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ “Disruptive technology” และผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมเอง เพื่อที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้

 

“ สำหรับตลาดประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ยุงค์ไฮน์ริช ในฐานะที่เป็นผู้นำระดับโลกในด้านอินทราโลจิสติกส์ บวกกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเรา ที่มีมาอย่างยาวนาน ทางเราได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงซอฟแวร์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยยุค 4.0 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเรายังคงมุ่งมั่นทำการพัฒนาสินค้าของเราอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ใช้คนขับ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุค ไทยแลนด์ 4.0 ได้เป็นอย่างดี ” นายสเตฟาน กล่าว 

 

นายเจน นำชัยศิริ วุฒิสมาชิกและประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกระแส Disruptive Technology ที่จะเข้ามามีบทบาท และกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอนาคตว่า การขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ภาคอุตสาหกรรมได้มีการนำเสนอประเด็นเรื่อง Industry 4.0 ซึ่งอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการผลิต ให้ปรับมาสู่แนวทาง Industry 4.0 ให้ได้มากที่สุด ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยเสริมในส่วนต่างๆ ของกระบวนการผลิต ให้ส่วนหนึ่งในภาคการผลิตสามารถคุย เชื่อมต่อ สื่อสาร และทำงานร่วมกับอีกส่วนหนึ่งได้ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็น Input ที่สำคัญ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งหรือส่วนอื่นทำงานได้อย่างสอดคล้อง และได้ผลผลิตออกมาดีที่สุด ที่เรียกว่า Connected Technology ในตอนนี้ประเทศไทยจะต้องพัฒนาไปในทิศทางที่ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ซึ่งงานวิจัยคือสิ่งสำคัญของประเทศ ในการพัฒนาผลิตภาพ การพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ การทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ดีๆ เพื่อมาเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวต่อไปในอนาคต

 

ด้าน อาจารย์สิริวัฒน์ ไวยนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม จากสถาบันไทย – เยอรมัน กล่าวว่า กระแสของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ได้ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และโลจิสติกส์ให้เป็นระบบอัตโนมัติ และการเชื่อมต่อต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet Of Things  ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่ตัววัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมด

 

โดยในการสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการบรรยาย และให้ความสำคัญถึง ขอบข่ายงานด้านโลจิสติกส์ ซัพพลายเชน และอินทราโลจิสติกส์ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางด้านการขนส่งภายในโรงงาน และการนำไปประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม เช่น การขนส่งโดยใช้รถยกลากพาเลท ( hand pallet truck ) ฟอร์คลิฟท์ ทั้งแบบระบบใช้คนขับ และแบบอัตโนมัติ AGV , mobile robot เป็นต้น  อุปกรณ์และเทคโนโลยีวิธีการจัดเก็บในคลังสินค้า รูปแบบของชั้นวางสินค้าประเภทต่างๆ เช่น single deep rack , drive in rack เป็นต้น ระบบ AS/RS แบบต่างๆ  ระบบลีนโลจิสติกส์ ( Lean ) โดยจะอธิบายถึงความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตและโลจิสติกส์การบริหารสินค้าคงคลัง ระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม  การผลิตแบบดึง และหลักการใช้คัมบังเพื่อควบคุมการไหลของวัสดุและสินค้าคงคลัง  แนวคิดของการพัฒนาแบบ ลีน อัตโนมัติ ซึ่งจะให้มองเห็นว่า การจะทำระบบอัตโนมัติควรจะปรับปรุงกระบวนการให้ ลีน โดยลดความสูญเปล่าก่อน แล้วจึงนำระบบอัตโนมัติเข้าไป ซึ่งจะได้ระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมและคุ้มค่ากว่า รวมถึงประเด็นเรื่อง ทิศทางการพัฒนาสู่โลจิสติกส์ 4.0 การต่อยอด และการเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน Internet Of Things เพื่อการจัดการแบบเรียลไทม์และยืดหยุ่น