ผนึกใจ ร่วมแรง รัฐบาล กลไกรัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรภาคประชาชน และครัวเรือน สู้ภัยโควิด 19

รัฐบาลและกลไกรัฐควรมีพลังมากที่สุดในการรับมือกับโรคระบาดระดับโลก โควิด 19 ที่มีคนป่วยทั่วโลกเหยียบหลักแสนราย เสียชีวิตหลักพันราย

มาตรการล่าสุดอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ดูได้จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่  3  มีนาคม  2563รวม 2 เรื่องดังต่อไปนี้

 

จัดสรรงบกลาง 1,233 ล้านบาท รับมือ

งบกลางดังกล่าวมาจากมติครม. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) ระยะการระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้

1. รับทราบโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID -19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

2. อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 1,233,272,900 บาท

สาระสำคัญของเรื่อง 

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3  มีนาคม 2563 เห็นชอบการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน  ตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2562  ที่ผ่านมา  การแพร่ระบาดได้สร้างความกังวลไปทั่วโลกหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นโดยข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์  2563 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก  จำนวนทั้งสิ้น 80,294 ราย มีอาการรุนแรง  9,215 ราย  เสียชีวิต 2,707 ราย  ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 37 ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล จำนวน 24 ราย และมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยาม (PUI)  จำนวน 1,798 ราย โดยประเทศไทยได้ยกระดับการแจ้งเตือนโรคในผู้เดินทางให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด  และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มาจากต่างประเทศ ทั้งการคัดกรองอุณหภูมิของร่างกาย ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ  6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิ  ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และเชียงราย  เพิ่มการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชน สนับสนุน การเตรียมความพร้อมรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่  ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุข  และชุมชนแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกกระทรวง อาทิ  กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย  และนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานความมั่นคง  โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน  รวมทั้งประสานงานกับองค์การอนามัยโลก  และประเทศในภูมิภาคอาเซียน  เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลมาตรการ และประสบการณ์ของประเทศไทยในการเฝ้าระวังให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐานระดับสูงสุดในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่

เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 ของประเทศไทย คณะกรรมการโรคติดต่อ มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 รวมทั้งมติ คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ  มีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบมาตรการลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีแนวโน้มของการระบาดในวงกว้างและชะลอการระบาดภายในประเทศ ตามแผนบูรณาการความร่วมมือพหุภาคีเพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จากแนวโน้มการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 ในประเทศไทย ประเทศจีนและทั่วโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยตามหลักการทางระบาดวิทยา คาดว่าจะพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรงและรุนแรง ในระยะระบาดของโรคในวงจำกัด  ซึ่งจะพบผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางจากประเทศในกลุ่มเสี่ยงและพบผู้ป่วยในประเทศไทยที่มีลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มก้อนเป็นวงจำกัด ในเวลา 3 เดือน จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่า  ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค  (PUI)  จำนวน 1,500 รายต่อเดือน  รวมผู้ป่วย PUI ทั้งสิ้น 4,500 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรง จำนวน 225 ราย อาการรุนแรง 45 ราย และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI)  และวินิจฉัยสุดท้ายเป็นโรคอื่น จำนวน 4,230 ราย

เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรค  ให้อยู่ในวงจำกัด ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ ลดผลกระทบทางสุขภาพ  รวมถึงสามารถดูแลคนไทยและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ :  กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

โครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

หลักการและเหตุผล :

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดได้สร้างความกังวลไปทั่วโลกหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นโดยข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 80,294 ราย มีอาการรุนแรง 9,215 ราย เสียชีวิต 2,707 ราย ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 37 ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล จำนวน 24 ราย และมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยาม (PUI) จำนวน 1,798 ราย โดยประเทศไทยได้ยกระดับการแจ้งเตือนโรคในผู้เดินทางให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มาจากต่างประเทศ ทั้งการคัดกรองไข้ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศที่ท่าอากาศยานนานาชาติ 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และเชียงราย เพิ่มการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชน สนับสนุน การเตรียมความพร้อมรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุข และชุมชนแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกกระทรวง อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานความมั่นคง โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน รวมทั้งประสานงานกับองค์การอนามัยโลก และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล มาตรการ และประสบการณ์ของประเทศไทยในการเฝ้าระวังให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐานระดับสูงสุดในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่  นั้น

เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย คณะกรรมการโรคติดต่อ มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 รวมทั้งมติ คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบมาตรการลดโอกาสการแพร่เชื้อโคโรนา 2019 ซึ่งมีแนวโน้มของการระบาดในวงกว้างและชะลอการระบาดภายในประเทศตามแผนบูรณาการความร่วมมือพหุภาคีเพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จากแนวโน้มการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ประเทศจีน และทั่วโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยตามหลักการทางระบาดวิทยาคาดว่าจะพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรงและรุนแรง ในระยะระบาดของโรคในวงจำกัด ซึ่งจะพบผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางจากประเทศในกลุ่มเสี่ยงและพบผู้ป่วยในประเทศไทย ที่มีลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มก้อนเป็นวงจำกัด ในเวลา 3 เดือน จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) จำนวน 1,500 รายต่อเดือน รวมผู้ป่วย PUI ทั้งสิ้น 4,500 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรง จำนวน 225 ราย อาการรุนแรง 45 ราย และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) และวินิจฉัยสุดท้ายเป็นโรคอื่น จำนวน 4,230 ราย

เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรค ให้อยู่ในวงจำกัด ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ ลดผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงสามารถดูแลคนไทยและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

วัตถุประสงค์ :

1. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

2. เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้อยู่ในวงจำกัด ช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ

3. เพื่อยกระดับสมรรถนะการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

 

ระยะเวลาการดำเนินการ :  3 เดือน (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563)

กิจกรรมการดำเนินงาน :

กิจกรรม

งบประมาณ (บาท)

หน่วยงานรับผิดชอบ

มีนาคม

เมษายน

พฤษภาคม

รวมทั้งสิ้น

1. การเฝ้าระวัง คัดกรอง ตรวจจับ และติดตามผู้สัมผัส ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ช่องทางเข้าออก โรงพยาบาลและในชุมชน

190,797,800

190,797,800

190,797,800

572,393,400

 - สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 - กรมการแพทย์

 - กรมควบคุมโรค

 - กรมอนามัย

 - กรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์

 

2. การดูแลรักษา และตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

194,917,170

194,917,170

194,917,160

584,751,500

3. การสื่อสารความเสี่ยง เพื่อลดผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

8,622,000

8,622,000

8,622,000

25,866,000

4. การประสาน สั่งการ และการตัดสินใจ

16,754,000

16,754,000

16,754,000

50,262,000

รวมทั้งสิ้น

411,090,970

411,090,970

411,090,960

1,233,272,900

งบประมาณ :

                จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น โครงการความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 1,233,272,900 บาท  

            กลุ่มเป้าหมาย :

                        1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง

3. ผู้เดินทางระหว่างประเทศ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1. ทุกคนในประเทศไทย ลดป่วย ลดตายและปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

2. ประเทศไทย สามารถควบคุม การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้อยู่ในวงจำกัด ช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ

3. ประเทศไทย มีระบบการป้องกัน ควบคุมโรค ที่มีสมรรถนะการป้องกัน ควบคุมโรคที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อภายในประเทศ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

หมายเหตุ : คำนิยาม PUI (Patient Under Investigation) หมายถึง ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค

 

อนุมัติงบกลาง 225  ล้านบาท ให้องค์กรท้องถิ่นผลิตหน้ากากอนามัย

งบกลางจำนวนนี้มาจากมติครม เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา (Covid-19)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้

1. รับทราบการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง

2. อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงินงบประมาณ 225,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยการจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,774 แห่ง (เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล)

สาระสำคัญของเรื่อง

มท. เสนอว่า

เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มิให้เกิดการแพร่กระจายหรือขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น และมิให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ระบบการสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคด้วยการสวมหน้ากากอนามัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในปัจจุบันพบว่า หน้ากากอนามัยทั้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จัดหาหรือจัดซื้อยากขึ้นและมีราคาแพง ในการนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการจัดอบรมให้ความรู้ในการจัดทำหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนในการนำไปใช้ป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถขยายผลนำไปประกอบเป็นอาชีพและสร้างรายได้ในการดำเนินชีวิต

มท. โดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยกระทรวงสาธารณสุข จึงได้บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินการ ดังนี้

1. จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง โดยมีกรอบการดำเนินการดังนี้

(1) การสร้างทีมวิทยากร หรือทีมครู ก. ในพื้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่วิธีการจัดทำหน้ากากอนามัยป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยกระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีผู้เข้ารับการอบรมจากบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน (กำนันและผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)) กลุ่มสตรี จิตอาสา และประชาชนที่สนใจ เพื่อให้เป็นทีมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และทักษะการจัดทำหน้ากากอนามัย สำหรับป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

(2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดอบรม เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือทีม ครู ก. ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้เข้ารับการอบรมตาม (1) โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2557 กรณีจัดอบรมบุคคลภายนอก

2. จัดทำ “โครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19)” เพื่อขยายผลการดำเนินโครงการตามข้อ 1 โดยมีกรอบการดำเนินการ ดังนี้

(1) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบูรณาการความร่วมมือประสานทีมวิทยากร หรือ ทีมครู ก. ผู้นำหมู่บ้าน (กำนันและผู้ใหญ่บ้าน) และผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน             (อสม.)) กลุ่มสตรี จิตอาสา และประชาชนที่สนใจ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหน้ากากอนามัย สำหรับป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

(2) การจัดทำหน้ากากอนามัยป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อประชาชน โดยการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,774 แห่ง (เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล) ภายในวงเงินงบประมาณ 225,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัย จำนวน 50,000,000 ชิ้น ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล

สำหรับโครงการตามข้อ 1 และ 2 กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการดังกล่าวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว

#