ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก “ทางออก” สู่ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย
  • 1 สิงหาคม 2020 at 15:19
  • 1579
  • 0

 

พลังจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  (EEC) จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจไทย (ที่ส่งผลต่อการเมืองไทย สังคมและวัฒนธรรม) จนบุกเบิกทางออกสู่ก้าวใหม่ได้เหมือนได้รับพลังบวกจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เมื่อราว 30 กว่าปีก่อนหรือไม่ ต้องติดตาม  ทั้งนี้มีความคืบหน้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่  21 กรกฎาคม 2563  เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2563

 

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ ดังนี้

สาระสำคัญของเรื่อง

มติ กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

การปรับปรุงประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ และการแต่งตั้งคณะกรรมการของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

1. เห็นชอบการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 แล่ที่แก้ไขเพิ่มเติม และการแต่งตั้งคณะกรรมการของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ

1.1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 มิถุนายน 2563) รับทราบผลการประชุม กพอ. ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ซึ่ง มติ กพอ. เห็นชอบให้ สกพอ. ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยเอกชนที่รับคัดเลือก และ สกพอ. ได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 แล้ว

1.2 ประกาศ กพอ.ฯ ข้อ 19 และ 20 กำหนดให้เมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้ กพอ. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และคณะกรรมการบริหารสัญญาซึ่งประกอบด้วย “ผู้แทนกระทรวงเจ้าสังกัด” แต่โดยที่ สกพอ. เป็นคู่สัญญาฝ่ายรัฐที่ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ และตามมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และกำหนดให้ กพอ. เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของ สกพอ. จึงเป็นกรณีที่ สกพอ. รายงานขึ้นตรงกับ กพอ. (ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) และนายกรัฐมนตรีไม่ได้สังกัดกระทรวงใดจึงมีความจำเป็นต้องเสนอขอปรับปรุงแก้ไขประกาศ กพอ.ฯ ในข้อดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ฉบับเดิม

ฉบับที่ 7 (ปรับปรุงล่าสุด)

แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการกำกับดูแล

ข้อ 19 เมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล ซึ่งประกอบด้วย “ผู้แทนกระทรวงเจ้าสังกัด” เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงาน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนเอกชนคู่สัญญา เป็นกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นกรรมการและเลขานุการ

ข้อ 19 เมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล ซึ่งประกอบด้วย “ผู้แทนกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้แทนหน่วยงานที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย” เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงาน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนเอกชนคู่สัญญา เป็นกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นกรรมการและเลขานุการ

แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารสัญญา

ข้อ 20/1 (2) ผู้แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการ “ผู้แทนกระทรวงเจ้าสังกัด” ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งโดยสำนักงาน จากบุคคลที่สำนักงานเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการของคณะกรรมการบริหารสัญญาเป็นกรรมการ

ข้อ 20/1 (2) ผู้แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการ “ผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานกำหนด” ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งโดยสำนักงาน จากบุคคลที่สำนักงานเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการของคณะกรรมการบริหารสัญญาเป็นกรรมการ

 

1.3 สืบเนื่องจากประกาศ กพอ.ฯ ข้อ 19 และ 20 (ตามข้อ 1.2) จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และคณะกรรมการบริหารสัญญาของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ โดยให้มีผลเมื่อประกาศ กพอ.ฯ ฉบับที่ปรับปรุงดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้ว

 

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

แผนการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภคโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ

2. อนุมัติในหลักการให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การประปานครหลวง (กปน.) สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณงานและวงเงินค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภคเปิดพื้นที่ก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ หากมีปริมาณงานเปลี่ยนแปลงอีกในอนาคต ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563

2.1 โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มกราคม 2563) รับทราบมติ กพอ. ซึ่งอนุมัติในหลักการแผนรื้อย้ายสาธารณูปโภค ภายในกรอบวงเงิน 479.055 ล้านบาท ปัจจุบัน กปน. การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กฟน. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อยู่ในขั้นตอนการขอรับการจัดสรรงบประมาณจาก สงป. (ขณะนี้ ได้ดำเนินขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างไปพลางก่อน และจะลงนามในสัญญาเมื่อได้รับงบประมาณแล้ว) แต่เนื่องจากเอกชนคู่สัญญามีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงสร้างเพื่อความเหมาะสมทำให้ปริมาณงานและค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงไป และเกิดความล่าช้าจากกำหนดเวลาไปแล้ว 1 เดือน โดยมีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท)

หน่วยงาน

เจ้าของ

สาธารณูปโภค

ช่วง

กรอบงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี(28 มกราคม 2563)

วงเงินหลังเปลี่ยนแปลงปริมาณงาน

หมายเหตุ

กฟน.

ช่วงที่ 1 ดอนเมือง – พญาไท

228.300

ลดลง เหลือ 56.740

ไม่เกินกรอบวงเงินตามมติคณะรัฐมนตรี (28 มกราคม 2563)

ช่วงที่ 3 ลาดกระบัง – อู่ตะเภา

-

เพิ่มขึ้น เป็น 28.249

รวม

228.300

84.989

กปน.

ช่วงที่ 1 ดอนเมือง – พญาไท

67.500

ลดลง เหลือ 46.388

ช่วงที่ 3 ลาดกระบัง – อู่ตะเภา

1.000

เพิ่มขึ้น เป็น 22.030

รวม

68.500

68.418

 

ทั้งนี้ ระหว่างการรื้อย้ายสาธารณูปโภคเปิดพื้นที่ก่อสร้างของทั้ง กฟน. และ กปน. อาจมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินงานซึ่งส่งผลกระทบต่อวงเงินโครงการ ดังนั้น หากมีปริมาณงานเปลี่ยนแปลงอีกในอนาคต ให้ทำความตกลงกับ สงป. ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563

 

2.2 การก่อสร้างสาธารณูปโภคทดแทน และการรื้อย้ายสาธารณูปโภคส่วนที่พบเพิ่มเติมของหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กทม. กปน. กปภ. กฟน. และ กฟภ.) และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ กรอบวงเงิน 4,103.608 ล้านบาท และการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของหน่วยงานอื่น (หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานและเอกชนอื่น) ซึ่งหน่วยงานและเอกชนเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามมติคณะรัฐมนตรี (12 พฤษภาคม 2563) ยังเป็นไปตามแผนเร่งรัด

3. รับทราบผลการดำเนินการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ [เรื่องสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (12 พฤษภาคม 2563)] โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนการเวนคืน โยกย้ายผู้บุกรุก และยกเลิกสัญญาเช่าเชิงพาณิชย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในพื้นที่โครงการฯ ดังนี้

 

แผนงาน

รายละเอียด

ความก้าวหน้าการเวนคืนพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน

• ช่วงดอนเมือง – พญาไท เจ้าของพื้นที่ที่ถูกเวนคืนเข้าทำสัญญาครบแล้วอยู่ระหว่างประสานงานขอใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่กรมทางหลวงและบ้านราชวิถีใช้งานอยู่

• ช่วงลาดกระบัง – อู่ตะเภา ล่าช้าไป 1 เดือน จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ทั้งนี้ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาได้ตกลงเรื่องการปรับเปลี่ยนแนวเขตทางใหม่แล้ว และ รฟท. จะเร่งรัดแผนงานเวนคืนเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564

ความก้าวหน้าการโยกย้ายผู้บุกรุก

เป็นไปตามแผนเร่งรัด โดยจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาช่วงดอนเมือง – พญาไท ประมาณเดือนตุลาคม 2564 และช่วงลาดกระบัง – อู่ตะเภา ประมาณเดือนมกราคม 2564

ความก้าวหน้าการยกเลิกสัญญาเช่าเชิงพาณิชย์ของ รฟท.

เป็นไปตามแผนเร่งรัด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมสัญญาเช่า กำหนดพื้นที่เช่าลงในแผนที่เขตที่ดินรถไฟ และจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาเช่าเฉพาะรายที่กระทบต่อไป โดยพร้อมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญา ช่วงดอนเมือง – พญาไท ประมาณเดือน มกราคม 2565 และช่วงลาดกระบัง – อู่ตะเภา ประมาณเดือนมกราคม 2564

 

#