เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก บทบาทของวังจันทร์ วัลเลย์
  • 13 พฤศจิกายน 2020 at 12:17
  • 2626
  • 0

โครงสร้างพื้นฐานเป็นจุดสำคัญเรื่องหนึ่งในการดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้พิจารณามาลงทุนในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ดังนั้นข้อมูลความคืบหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานจึงควรติดตามอย่างต่อเนื่อง  ล่าสุดเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการสนับสนุนเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งนับว่าเป็น “โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี” ที่สำคัญ  และปัจจุบันกลุ่มปตท. และพันธมิตรได้ลงทุนเตรียมการด้านนี้ไว้ระดับหนึ่งแล้ว

การเปลี่ยนแปลงผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ข้อมูลล่าสุดเรื่องนี้มาจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563  เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 4/2563 (ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... และร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติ ดังนี้

1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 4/2563 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ

2. อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... และร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้

สกพอ. เสนอว่า

1. ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเกี่ยวกับแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 136 ตอนพิเศษ 301 ง วันที่ 9 ธันวาคม 2562 แล้ว

2. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติรับทราบความคืบหน้าการพัฒนาโครงการเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (EECi) และเห็นชอบในหลักการให้ขยายพื้นที่โครงการ EECi ในบริเวณวังจันทร์วัลเลย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เนื้อที่ประมาณ 152 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ติดกันและต่อเนื่องกับพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เดิม (พื้นที่โครงการจากเดิม 3,302 ไร่) รวมเป็นพื้นที่รวมประมาณ 3,454 ไร่ เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ในกิจกรรมที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งพื้นที่ชุมชน (Community Zone)

3. สกพอ. ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุม กพอ. ในข้อ 2 แล้ว เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามประกาศ กพอ. เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562 จากเดิม “ที่ดินประเภทชุมชนชนบท” (สีเหลืองอ่อน) เป็น “ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ” (สีน้ำตาล)  จะต้องดำเนินการตามข้อ 20 ของประกาศดังกล่าว โดยหากต้องปรับปรุงแผนผังให้สอดคล้องกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกตามมติ กพอ. ให้ สกพอ. ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงแผนผังตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 แล้วเสนอ กพอ. ให้ความเห็นชอบ และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้แผนผังที่จัดทำขึ้นตามมาตรา 30 เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก กพอ. และคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ให้ผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองในส่วนที่ใช้บังคับในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอยู่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนผังนั้นเป็นอันยกเลิกไป และให้ถือว่าแผนผังที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองสำหรับแต่ละจังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

 

อนาคตท่าเรือแหลมฉบัง

4. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาและมีมติเรื่องดังต่อไปนี้

4.1 แนวทางการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับนานาชาติ

 

ชื่อเรื่อง

มติที่ประชุม

1. โครงการท่าเรือบก (Dry Port)

Ÿ ให้ คค. โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ร่วมกับ สกพอ. วางแผนเร่งรัดให้โครงการแล้วเสร็จภายในปี 2567 เพื่อให้ทันต่อการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

Ÿ ให้กรมศุลกากร การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางระบบส่งสินค้าให้เป็น Single Window  (ตรวจสินค้าที่จุดเดียว กำหนดเส้นทางลงเรือ)  โดยมีระบบดิจิทัลด้วย

2. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

Ÿ ให้ คค. โดย สนข. เร่งดำเนินการศึกษาให้สามารถเชื่อมโยงกับโครงการท่าเรือบก  และโครงการสะพานไทย

3. โครงการสะพานไทย

Ÿให้ คค. โดย สนข. ร่วมกับ สกพอ. ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-feasibility  Study)  ของโครงการสะพานไทย

Ÿ ให้ สกพอ. ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น กรอบวงเงิน 100 ล้านบาท เพื่อร่วมกับ สนข. ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นโครงการสะพานไทยและความเชื่อมโยงของท่าเรือแหลมฉบังกับนานาชาติ

4. การมอบหมายให้คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) กำกับการบูรณาการโครงการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการเชื่อมโยงแหลมฉบังกับนานาชาติ

Ÿ ให้ คค. และ สกพอ. ร่วมกันศึกษาให้  3 โครงการเชื่อมโยงกัน ได้แก่ โครงการท่าเรือบก โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน  และโครงการสะพานไทยโดยให้เน้นการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน  และการจัดลำดับความสำคัญเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ

 

เขตนวัตกรรม EEC

4.2 โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

 

ชื่อเรื่อง

มติที่ประชุม

1. ร่างประกาศ กพอ. เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. ....

Ÿ เห็นชอบ

Ÿ มอบหมายให้เลขาธิการ สกพอ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  เป็นผู้ลงนามประกาศดังกล่าว รวม 2 ฉบับ  แทนประธานกรรมการ กพอ. เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

2. ร่างประกาศ กพอ. เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....

3. ความก้าวหน้าการพิจารณาแนวทางในการอนุญาตให้ประกอบกิจการพลังงานในพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

Ÿ รับทราบ

 

เปลี่ยนเป็นแผนผังการใช้ประโยชน์ที่สีน้ำตาล

5. โดยที่มาตรา 11 (3) (4)  และ (7) แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ กพอ. มีหน้าที่และอำนาจให้ความเห็นชอบแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคประกาศกำหนดพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง และออกระเบียบ ข้อบังคับและประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และวรรคสอง บัญญัติให้การดำเนินการตาม (4) และ (7) เมื่อ กพอ. ได้มีมติอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบเรื่องใดแล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ.

จึงได้เสนอผลการประชุม กพอ. ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 และร่างประกาศรวม  2 ฉบับ  มาเพื่อดำเนินการ

สาระสำคัญของร่างประกาศ

1. ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....  เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน  ตามประกาศ กพอ. เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค  เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  พ.ศ. 2562 โดยวางและจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค  ในพื้นที่รวมประมาณ 152 ไร่ บริเวณตำบลป่ายุบใน  อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จากเดิม “ที่ดินประเภทชุมชนชนบท”  (สีเหลืองอ่อน) เป็น “ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ”  (สีน้ำตาล) และให้ใช้รายการประกอบเผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินท้ายประกาศนี้แทน  (ขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทและตำแหน่งที่ตั้ง แผนผังระบบสาธารณูปโภค)

2. ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... เป็นการเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ :  เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)  โดยขยายพื้นที่ดังล่าวเพิ่มเติม เนื้อที่ประมาณ 152 ไร่  ในบริเวณวังจันทร์วัลเลย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง  (จากเดิมที่มีพื้นที่รวมประมาณ 3,302 ไร่) รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 3,454 ไร่ โดยเป็นพื้นที่อยู่ติดกันและต่อเนื่องกับพื้นที่เดิม  เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ในกิจกรรมที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง   รวมทั้งพื้นที่ชุมชน (Community Zone)  และให้ใช้แผนที่และแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษท้ายประกาศนี้แทน

 

ข้อมูลเสริม วังจันทร์ วัลเลย์ ให้เป็นซิลิคอน วัลเลย์เมืองไทย

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์ วัลเลย์ ขนาดพื้นที่ 3,454 ไร่ จังหวัดระยอง พัฒนาโดยมุ่งมั่นให้เป็น “ซิลิคอน วัลเลย์” เมืองไทย วังจันทร์ วัลเลย์มีศูนย์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัยพัฒนาของประเทศด้วยงบลงทุนไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท สอดคล้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ปตท. ตั้งใจสร้างให้ วังจันทร์ วัลเลย์ เป็นนิคมนวัตกรรมเพื่อรองรับอนาคต พื้นที่โครงการแบ่งเป็นหลายโซน เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย โซนนวัตกรรมที่ให้เอกชนหรือรัฐบาลเข้ามาลงทุนงานวิจัย โดยปตท.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้เป็น “สมาร์ทซิตี้” เชื่อมโยงระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่มาลงทุนได้รับความสะดวก มีเป้าหมายจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2564 เพื่อรองรับการเปิดให้บริการแก่พันธมิตรและผู้สนใจในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2564

 

โครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY    ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่ก้าวสู่การเป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบ เริ่มต้นด้วยการตั้ง VISTEC (สถาบันวิทยสิริเมธี), KVIS (โรงเรียนกำเนิดวิทย์) และมีสถาบันปลูกป่าเกิดขึ้น โดยใช้เนื้อที่ไปประมาณ 900 ไร่ เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก-EEC  ปตท. ได้ประสานงานกับทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม) และ สวทช. ว่าเราควรจะทำพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็นพื้นที่ทำนวัตกรรมของ EEC เราเลยตั้งชื่อว่า EECi (Eastern Economic Corridor of Innovation) โดยมุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นเหมือนกับซิลิคอนวัลเลย์ของอเมริกา

ล่าสุดในพื้นที่แห่งนี้ มีโครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY เพื่อเปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้เข้ามาทดสอบและทดลองนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งเพิ่มศักยภาพความเร็วในการรับส่งข้อมูล เพื่อการตอบสนองที่เร็วขึ้น ปัจจุบันได้นำศักยภาพของ 5G ไปทดลองใช้เป็น Use cases ต่างๆ รวมถึง UAV (Unmanned Aerial Vehicle) และการจัดการการบิน

โครงการนี้ ปตท. ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มาร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ทั้ง CAAT (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) ซึ่งสนับสนุนให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลองและทดสอบได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้การอนุญาตปฏิบัติแตกต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด

ขณะที่ กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เข้ามาช่วยบริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่ เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์

ส่วน สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้บริหารจัดการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้การสนับสนุนด้านการดำเนินการ UAV Sandbox ได้อย่างสะดวกและประสบความสำเร็จ ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะ ความรู้ด้านการบินโดรนแก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ

นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณ 3 รายใหญ่ประกอบด้วย

“เอไอเอส” (บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)) ที่ทำงานร่วมกับ VISTEC ในการทดสอบและพัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์

“ทรู” (บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ได้เข้ามาช่วยในด้านการทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของพื้นที่

“ดีแทค” (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน)) ร่วมพัฒนาการทดสอบสู่กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G สำหรับควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูง ให้การสั่งการรวดเร็วและภาพที่คมชัด

จุดเด่นของโครงการ 5G Playground UAV SANDBOX คือเป็นพื้นที่เดียวที่ทั้ง สวทช., กสทช. และ CAAT มารวมอยู่ในที่แห่งนี้  ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว ได้แก่ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี, ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย, สมาร์ทวีซ่าสำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว, พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) และศูนย์บริการด้านการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน

#